สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการศึกษาโรงเรียนดีเด่น ระยะที่สองการตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33-0.65 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.965 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนที่เป็นหัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้าสายชั้นหรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ในโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,596 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรม LISREL for Windows v. 8.52 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะสถานศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การสร้างแรงดลใจ การสร้างศรัทธา ความสำเร็จ วิสัยทัศน์ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ ได้แก่ การตัดสินใจ ความมีคุณภาพ การปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง และ การบริหารแบบมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การ ได้แก่ ความสัมพันธ์ของบุคลากร สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และ โครงสร้างองค์การ ปัจจัยด้านความผูกพันต่อองค์การ ได้แก่ การมีเป้าหมายค่านิยมร่วม ความปรารถนาเป็นสมาชิกขององค์การ และ การอุทิศตนต่อองค์การ และปัจจัยด้านสมรรถนะสถานศึกษา ได้แก่ คุณภาพส่วนตัวของบุคคลากร ระบบการทำงาน กลยุทธ์ และเทคโนโลยี
2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 88.54, df= 94, p-value = 0.63947, RMSEA = 0.000, GFI = 0.98, AGFI = 0.97, Largest Standardized Residual = 2.47) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะสถานศึกษา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย เป็นดังนี้ อิทธิพลทางตรง คือ บรรยากาศองค์การ อิทธิพลทางอ้อม คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และ อิทธิพลรวม ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และวัฒนธรรมองค์การ โดยปัจจัยเชิงสาเหตุทั้ง 4 ตัว ดังกล่าวข้างต้น สามารถอธิบายสมรรถนะของสถานศึกษาได้ร้อยละ 67
The objectives of this study were to develop and examine the goodness-of-fit of the causal relationship model of factors affecting the competency of schools in the North-eastern region of Thailand under the Office of the Basic Education Commission with the empirical data. The study was divided into 2 phases. The first phase was the construction of research conceptual framework by an analysis of relevant documents and researches, an interview with experts and a study on distinctive schools. Hypothesis test was conducted in the second phase by the data collected by a 5-level rating scale questionnaire with the discrimination value between 0.33 - 0.65 and reliability value at 0.965. The sample group consisted of 1,596 school directors, sub-division head teachers and grade level head teachers or head teachers of academic departments in schools in the Northeastern region of Thailand under the Office of the Basic Education Commission, selected through multi-stage sampling. Computer software was employed in data analysis to determine frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient, while LISREL software for Windows version 8.52 was brought to analyze the confirmatory factors and examine the goodness-of-fit between the hypothesis model and the empirical data.
The study found that:
1. The author's causal relationship model of factors affecting the competency of schools in the North-eastern region of Thailand under the Office of the Basic Education Commission comprised the factors on 1) transformational leadership, which were inspiration building, faith building, achievement and vision; 2) organizational culture, which were decision making, quality, change adaption and participative management; 3) organizational atmosphere, which were personnel relationship, suitable environment and organizational structure; 4) organizational engagement, which were shared goals and values, desire to attain membership in the organization and dedication to the organization and 5) school competency, which were personal quality of personnel, working system, strategy and technology.
2. The developed model showed the goodness-of-fit with the empirical data (Chi-square = 88.54, df= 94, p-value = 0.63947, RMSEA = 0.000, GFI = 0.98, AGFI = 0.97, Largest Standardized Residual = 2.47). The effect of the factors on school competency, ranking from the highest to the lowest, were as follows: 1) direct effect: organizational atmosphere 2) indirect effect: transformational leadership and organizational culture ; 3) total effect: transformational leadership and organizational culture, The 4 aforementioned causal factors could altogether indicate school competency at 67 percent.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 152.75 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 106.33 KB |
3 | บทคัดย่อ | 164.22 KB |
4 | สารบัญ | 294.65 KB |
5 | บทที่ 1 | 315.04 KB |
6 | บทที่ 2 | 2,733.15 KB |
7 | บทที่ 3 | 440.01 KB |
8 | บทที่ 4 | 1,390.03 KB |
9 | บทที่ 5 | 605.81 KB |
10 | บรรณานุกรม | 535.94 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 323.58 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 131.28 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 509.73 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 274.95 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 1,027.62 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 120.40 KB |