ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
อนาคตภาพการอาชีวศึกษาเอกชนไทยในยุคประชาคมอาเซียน ระหว่าง พ.ศ. 2558 – 2567
The Scenario of Thai Private Vocational Education in ASEAN Community during A.D. 2015 – 2024
ผู้จัดทำ
อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย รหัส 55632233106 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง, รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด สร้อยน้ำ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการอาชีวศึกษาเอกชนไทยในยุคประชาคมอาเซียนระหว่าง พ.ศ. 2558 -2567 โดยใช้การวิจัยแบบ EDFR สัมภาษณ์ผู้บริหารด้านการอาชีวศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเลือกมาแบบเจาะจง จำนวน 32 คน และป้อนข้อมูลย้อนกลับให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสอบถามแบบเดลฟาย ( Delphi questionnaire ) ที่สร้างขึ้นจากการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ วัดผลกระทบภาคตัดไขว้ด้วยแบบสอบถามกับบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษาเอกชนที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 40 คน โดยใช้สถิติ คือ ความน่าจะเป็นขั้นต้น ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไข และอัตราส่วนแต้มต่อของผลกระทบไขว้

ผลการวิจัยพบว่า 

1. อนาคตภาพการอาชีวศึกษาเอกชนไทยในยุคประชาคมอาเซียนระหว่าง พ.ศ. 2558-2567 ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ด้าน คือ 1)ด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาเอกชน ต้องพัฒนาและเสริมสร้างให้มีความสามารถและทักษะวิชาชีพตามเกณฑ์มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน 2)ด้านครูอาชีวศึกษาเอกชนไทย ต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์ด้านวิชาชีพที่สอน เข้าร่วมฝึกอบรมกับสถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง รักวิชาชีพครูและเป็นแบบอย่างที่ดี 3)ด้านสถานอาชีวศึกษาและแหล่งเรียนรู้ ต้องพัฒนาให้มีสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีเครื่องมือและอุปกรณ์การฝึกอาชีพที่ทันสมัย จัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีที่สอดคล้องกับภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ โดยทำข้อตกลงความร่วมมือในการเรียนการสอนระบบทวิภาคีกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  4)ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเอกชนไทย ต้องกำหนดรูปแบบการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา มีระบบการประเมินผล ร่วมกับสถานประกอบการวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรการสอนภาคทฤษฎี ร่วมกันจัดแผนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแผนการฝึกอาชีพ  มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานอาชีวศึกษาในแต่ละสาขาอาชีพร่วมกันในระดับกลุ่มภูมิภาค (กลุ่มประชาคมอาเซียน) และรัฐต้องมีนโยบายสนับสนุนการอาชีวศึกษาอย่างจริงจัง เสมอภาค เหมาะสม เพียงพอและต่อเนื่อง

2. ภาพอนาคตที่สร้างขึ้น มี 5 ภาพที่สอดคล้องกัน ภาพอนาคตแรก การพัฒนาสถานอาชีวศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ภาพอนาคตที่สอง การพัฒนาครูอาชีวศึกษาเอกชนไทยยุคใหม่ ภาพอนาคตที่สาม การพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชนไทยที่สำเร็จการศึกษา ภาพอนาคตที่สี่ การบริหารการอาชีวศึกษาเอกชนไทยในยุคประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ  และ ภาพอนาคตที่ห้า สรุปภาพรวมของอนาคตภาพการอาชีวศึกษาเอกชนไทยในยุคประชาคมอาเซียน ระหว่าง พ.ศ. 2558 – 2567

3. ผลการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้จากทัศนะของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษาเอกชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ 40 แห่ง ประมวลภาพอนาคตได้ดังนี้

3.1 การพัฒนาคุณลักษณะด้านสถานอาชีวศึกษาและแหล่งเรียนรู้ จะส่งผลให้มีการพัฒนาด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาเอกชนอย่างแน่นอน และส่งผลให้มีการพัฒนาด้านการบริหารการอาชีวศึกษาเอกชนตามมา

3.2 การพัฒนาการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเอกชนด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาเอกชน จะส่งผลให้มีการพัฒนาคุณภาพของครูอาชีวศึกษาเอกชนไทยให้มีคุณภาพอย่างแน่นอน 

3.3 การพัฒนาคุณลักษณะด้านครูอาชีวศึกษาเอกชนไทย จะส่งผลให้มีการพัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จอาชีวศึกษาเอกชนอย่างแน่นอน 

3.4 การพัฒนาการบริหารการอาชีวศึกษาเอกชนไทยในยุคประชาคมอาเซียน จะส่งผลให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาเอกชนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของตลาดแรงงานและสถานประกอบการอย่างแน่นอน

Abstract

The purpose of this research was to study the scenario of Thai Private Vocational Education (TPVE) in the ASEAN Community Period (2015 – 2024) covering four main missions of Vocational Reforming Plan. The study was conducted by Ethnographic Delphi Futures Research Technique (EDFR). 32 experts, obtained through purposive sampling method, were selected and interviewed. The Delphi questionnaires were distributed to summarize feedback of the executives’ opinions. To analyze the cross-impact, 40 respondents were purposely chosen. The cross-impact questionnaires were analyzed using descriptive statistics and cross impact probability matrix. The results of this research revealed that:

1. The scenario of TPVE in the ASEAN Community Period (2015 – 2024) consisted of four main areas: 1) the characteristics of the TPVE graduates must be developed and strengthened capacity and professional skills based on professional standards and professional qualifications, and complied with the requirements of the labour market. 2) The TPVE teachers need to develop their own ability in terms of professional teaching skills and experience, to attend the training within the workplace continuously, to be proud of teaching professions, and to be a good role model. 3) The TPVE colleges and learning resources require to improve a climate that is conductive to learning, to provide modern equipment and professional training, to manage teaching and learning theories in line with practice in the workplace. The bilateral cooperation program among stakeholders both public and private sectors is also required. 4) The TPVE management must determine the format of quality assurance. In addition, the evaluation system together with the establishment of theoretical curriculum analysis, and the lesson plans should be designed and advised by the workplace, in accordance with the internship practice plans. The vocational standards in each program qualification should be set together at a regional level (ASEAN). Moreover, the state’s policy should provide serious, adequate and continuous support, and enhance the equity for quality vocational education.

2. The future of TPVE in ASEAN Community Period (2015–2024) was constructed as five scenarios: 1) the development of TPVE institutions and modern learning resources, 2) the development of new generation TPVE teacher’s desirable characteristics, 3) the development of TPVE graduates’ characteristics, 4) the development of the TPVE management in the ASEAN Community Period (2015-2024), and 5) the conclusion of TPVE sectors’ scenarios.

3. The cross-impact analysis from the stakeholders’ perspectives toward 40 TPVE institutions throughout Thailand revealed that:

1) The occurrence of the development of TPVE institutional characteristics and learning resources will consequently affect the improvement of both the graduates’ desired characteristics and the TPVE’s management.

2) The development of TPVE institutional management in terms of graduates’ desirable characteristics will consequently improve the effective teachers’ desirable characteristics.

3) The development of the TPVE teachers’ desirable characteristics will effectively improve the graduates’ desirable characteristics.

4) The development of the TPVE management in the ASEAN Community Period (2015-2024) will certainly improve the graduates’ desirable characteristics for effective workforce participation.

คำสำคัญ
อนาคตภาพ, การอาชีวศึกษาเอกชนไทย
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 67.31 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 226.91 KB
3 ประกาศคุณูปการ 101.25 KB
4 บทคัดย่อ 109.48 KB
5 สารบัญ 312.65 KB
6 บทที่ 1 364.15 KB
7 บทที่ 2 2,814.28 KB
8 บทที่ 3 540.86 KB
9 บทที่ 4 1,323.18 KB
10 บทที่ 5 840.30 KB
11 บรรณานุกรม 255.44 KB
12 ภาคผนวก ก 483.41 KB
13 ภาคผนวก ข 765.53 KB
14 ภาคผนวก ค 79.39 KB
15 ภาคผนวก ง 233.66 KB
16 ภาคผนวก จ 229.03 KB
17 ภาคผนวก ฉ 1,486.63 KB
18 ภาคผนวก ช 1,685.02 KB
19 ภาคผนวก ซ 1,286.83 KB
20 ภาคผนวก ฌ 73.41 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
6 มกราคม 2561 - 15:15:33
View 1853 ครั้ง


^