ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การศึกษาการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
A Study of School Operation Based on Standards of Student Assistance System under the Secondary Educational Service Area 23
ผู้จัดทำ
รัฐสยาม วงค์จันทะ รหัส 56421229104 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร. ชรินดา พิมพบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและประสิทธิผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน  3) หาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2,187 คน จาก 45 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์  F–test (One–Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพ การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ ด้านกระบวนการ ด้านคุณภาพนักเรียน และด้านปัจจัย

2. ปัญหา การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ ด้านกระบวนการ ด้านปัจจัย และด้านคุณภาพนักเรียน

3. ประสิทธิผล การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ ด้านกระบวนการ ด้านคุณภาพนักเรียน และด้านปัจจัย

4. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน มีความคิดเห็น จำแนกตามที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน พบว่า สภาพ ปัญหา และประสิทธิผล โดยภาพรวมแล้ว ไม่แตกต่างกัน

5. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน มีความคิดเห็น จำแนกตามประสบการณ์การทำงานต่างกัน พบว่า สภาพ ปัญหา โดยภาพรวมแล้ว ไม่แตกต่างกัน ส่วนประสิทธิผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน มีความคิดเห็น จำแนกตามปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน พบว่า สภาพ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัญหา และประสิทธิผล โดยภาพรวมแล้ว ไม่แตกต่างกัน

7. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ควรพัฒนา ประกอบด้วย สภาพการดำเนินงาน มี 2 ด้าน คือ ด้านปัจจัย และด้านคุณภาพนักเรียน ปัญหาการดำเนินงาน มี 1 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ ส่วนประสิทธิผล มี 2 ด้าน คือ ด้านปัจจัย และด้านคุณภาพนักเรียน

Abstract

This research intended to: 1) examine conditions, problems and effectiveness of school operation based on standards of student assistance system; 2) compare levels of opinions of school administrators, teachers in charge, and teachers, classified by different position, work experience, and school size; and 3) establish guidelines for developing school operations based on the standards of a student assistance system. The population comprised 2,187 administrators, teachers in charge, and teachers working from 45 schools under the Secondary Educational Service Area 23. The samples were 325 school administrators, teachers in charge, and teachers. The research tool was a 5-point rating scale questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and One-Way ANOVA for hypothesis testing.

The findings were as follows:

1. In terms of conditions, the school operation follows the standards of the student assistance system, and, as a whole, had a mean score at a high level, ranking from high to low as follows: procedures, student quality, and factors.

2. In terms of problems, the school operation followed the standards of the student assistance system, and, as a whole showed a low level of mean scores, ranking from high to low as follows: procedures, factors and student quality.

3. In terms of effectiveness, the school operation follows the standards of the student assistance system, and, as a whole had an average at a high level, ranking from high to low as follows: procedures, student quality, and factors.

4. The school administrators, teachers in charge and teachers, classified by position attained, reported that conditions, problems and effectiveness, as a whole had no difference.

5.  The school administrators, teachers in charge and teachers, classified by working experiences, reported that conditions and problems, as a whole had no difference. The effectiveness was different at the .05 level of statistical difference.

6. The school administrators, teachers in charge and teachers, classified by school size, reported that conditions and problems, as a whole were different at a .05 level of statistical significance. The effectiveness, as a whole, had no difference.

7. The guidelines for developing school operation based on standards of the student assistance system needed to be developed were conditions comprising two aspects: factors, and student quality, the operational problems comprising one aspect: procedures, and the effectiveness comprising two aspects of factors and student quality.

คำสำคัญ
ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 58.95 KB
2 ประกาศคุณูปการ 43.06 KB
3 บทคัดย่อ 107.07 KB
4 สารบัญ 107.07 KB
5 บทที่ 1 129.51 KB
6 บทที่ 2 457.94 KB
7 บทที่ 3 110.17 KB
8 บทที่ 4 414.30 KB
9 บทที่ 5 189.46 KB
10 บรรณานุกรม 92.98 KB
11 ภาคผนวก ก 267.56 KB
12 ภาคผนวก ข 827.35 KB
13 ภาคผนวก ค 71.07 KB
14 ภาคผนวก ง 271.98 KB
15 ประวัติย่อของผู้วิจัย 65.89 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
12 มกราคม 2561 - 10:03:33
View 1164 ครั้ง


^