สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการบริหาร วิเคราะห์ระดับประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของตัวแบบปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลการบริหารงานต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนครูวิชาการ ครูผู้สอน ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 346 โรงเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of analysis) กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม โดยมีค่าความสอดคล้อง (Index of congruence : IOC) ของแบบสอบถามมีค่าตั้งแต่ .80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับ .865 และแบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .677 ถึง .884 ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการบริหารอย่างมีส่วนร่วม เท่ากับ .677 ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ เท่ากับ .860 ปัจจัยด้านบรรยากาศโรงเรียน .884 ปัจจัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ .840 การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิงโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการและ 2) ตัวแปรแฝงภายใน 3 ตัวแปร ได้แก่ บรรยากาศของโรงเรียน การบริหารจัดการเรียนรู้ และประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของตัวแบบปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า การตรวจสอบความมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไคสแควร์มีค่าเท่ากับ 256.60 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value เท่ากับ 0.51 df เท่ากับ 258) ซึ่งเป็นการยืนยันว่ารูปแบบเชิงสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ยังมีค่าที่ระบุความกลมกลืนอื่นๆ เช่น ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ0.95 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.93
3. ผลการศึกษาอิทธิพลทางตรงสูงสุด ต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนโอกาสทางการศึกษา ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (K1) ค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.39 อิทธิพลทางอ้อมสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านบรรยากาศของโรงเรียน (E1) ส่งผ่านปัจจัยด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ (E2) มีค่าอิทธิพล เท่ากับ 6.18 ค่าอิทธิพลรวมสูงสุดได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (K1) มีค่าอิทธิพล เท่ากับ 0.39 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (K1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ (K2) ปัจจัยด้านบรรยากาศโรงเรียน (E1) ปัจจัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ (E2) สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ได้ร้อยละ 43
The purposes of this research were to 1) investigate administrative factors and analyze the level of administrative effectiveness of the Educational Opportunity Extension Schools in the northeastern region under the Office of the Basic Education Commission; 2) validate the goodness of fit for a developed model of administrative factors influencing school administrative effectiveness with the empirical data; 3) examine direct, indirect and total influences of administrative factors Influencing school administrative effectiveness. The samples, obtained through multi-stage random sampling, were directors, teachers in charge of academic affairs, and teachers working at the Educational Opportunity Extension Schools in the northeastern region under the Office of the Basic Education Commission in the academic year 2018. The 346 sampling schools were selected through unit of analysis. The research instruments were interview forms and a set of questionnaires with the Index of Congruence (IOC) ranging from .80 to 1.00. The questionnaire concerning school administrative effectiveness had the reliability of .865. The questionnaire concerning causal factors affecting school administrative effectiveness had the reliability ranging from .677 to .884, including the following factors: participative administration with .677, instructional leadership with .860, school atmosphere with .884, and instructional procedures with .840. The statistics used for data analysis were descriptive and inferential methods. The statistical package program and Linear Structural Relationship (LISREL) program were also applied to analyze the data.
The findings were as follows:
1. The administrative factors affecting administrative effectiveness at the Educational Opportunity Extension Schools in the northeastern region under the Office of the Basic Education Commission consisted of: 1) Two external latent variables: participative administration, and instructional leadership; and 2) Three internal latent variables comprising school atmosphere, instructional management, and school administrative effectiveness.
2. The effects after the goodness-of-fit test to the developed model of administrative factors influencing school administrative effectiveness revealed that the model was well fitted with the empirical data with a Chi-square of 256.60 but found no significant differences (P-value = 0.51, df = 258). These data confirmed that the hypothesized structural model was created consistently with the empirical data. The goodness-of-fit statistics were also applied, such as Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.00, Goodness of Fit (GFI) =0.95, and Adjust Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.93.
3. The results revealed that the factor which had the highest direct effect toward school administrative effectiveness was participative administration (K1) at the strength of 0.39. The indirect effect was school atmosphere (E1) influencing through instructional procedures (E2) at the strength of 6.18. The highest total effect was participative administration (K1) at the strength of 0.39. The four factors influencing school effectiveness involved participative administration (K1), instructional leadership (K2), school atmosphere (E1), instructional procedures (E2). The said factors were able to explain school effectiveness at 43 percent.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 125.70 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 692.77 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 59.12 KB |
4 | บทคัดย่อ | 116.63 KB |
5 | บทที่ 1 | 354.04 KB |
6 | บทที่ 2 | 2,572.97 KB |
7 | บทที่ 3 | 301.69 KB |
8 | บทที่ 4 | 1,142.71 KB |
9 | บทที่ 5 | 327.62 KB |
10 | บรรณานุกรม | 206.53 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 133.01 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 426.97 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 490.18 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 347.95 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 1,073.60 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 80.17 KB |