สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของทักษะการวางแผน ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) พัฒนาทักษะการวางแผนของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กีฬากอล์ฟเป็นกิจกรรมการฝึกอบรม และ3) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการวางแผนของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กีฬากอล์ฟเป็นกิจกรรมการฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบความคิดการวิจัย ประกอบด้วย 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของกระบวนการวางแผนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เกี่ยวกับแนวทางการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม และนักกอล์ฟอาชีพเกี่ยวกับองค์ประกอบของกระบวนการวางแผนของการเล่นกอล์ฟ ระยะที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการวางแผนของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กีฬากอล์ฟเป็นกิจกรรมการฝึกอบรม และระยะที่ 3 การตรวจสอบหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการวางแผนของผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้กีฬากอล์ฟเป็นกิจกรรมการฝึกอบรม ประกอบด้วย 1) ตรวจสอบร่างหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แล้วประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมขององค์ประกอบของทักษะการวางแผนและหลักสูตรฝึกอบรม 2) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมภาคสนามกลุ่มย่อย 2 คน และกลุ่มใหญ่ 5 คน เพื่อหาประสิทธิผลของหลักสูตร โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกลุ่ม และ 3) ปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมและเอกสารประกอบหลักสูตรฝึกอบรม
ผลการวิจัย พบว่า
1. ทักษะการวางแผนของผู้บริหารสถานศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ 2) การกำหนดข้อสันนิษฐานหรือการพยากรณ์ 3) การสำรวจทรัพยากร 4) การพิจารณาทางเลือกและตัดสินใจเลือกทางเลือก 5) การกำหนดแผนปฏิบัติงานและปฏิบัติตามแผน และ 6) การประเมินผลการปฏิบัติตามแผน
2. หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาทักษะการวางแผนของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้กีฬากอล์ฟเป็นกิจกรรมการฝึกอบรม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร และ 3) หน่วยการฝึกอบรมและหัวข้อฝึกอบรม โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรม มี 6 หน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้วย จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหาการฝึกอบรม สื่อการเรียน กิจกรรมและวิธีการฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรม ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบในหลักสูตรฝึกอบรมมีความสอดคล้องกัน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.60-1.00 และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 4.45
3. การศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการวางแผน หลังได้รับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
The objectives of this study were 1) to study the components of planning skill; 2) to develop a golf training curriculum for planning skill development of school directors and 3) to study the effectiveness of the developed curriculum. The study was divided into 3 phases. The research conceptual framework was built in the first phase by 1) studying relevant documents and researches on the components of planning process 2) conducting an interview with 12 experts and professional golfers on the approaches in building a golf training curriculum and on the components in golfing strategy and tactics. The golf training curriculum was built in the second phase and the evaluation of the developed curriculum was carried out in the third phase by 1) conducting an expert group discussion by 5 experts to evaluate the appropriateness and congruence of the developed curriculum 2) running an experimental implementation of the developed curriculum with a small group of 2 persons and a larger group of 5 persons to determine the effectiveness of the developed curriculum and 3) improving the developed curriculum as well as related documents.
The findings are as follows.
1. Planning skill of school directors comprises 6 components, which are 1) objectives setting; 2) presumption or prediction setting; 3) resource inventory; 4) choices consideration and determination; 5) operational plan setting and implementation and 6) evaluation of operational plan implementation.
2. The developed golf training curriculum for planning skill development of school directors comprises 3 components, namely 1) rationale; 2) curriculum objectives and 3) training unit and training topics. The structure of the training curriculum consists of 6 units. Each unit consists of behavioral objectives, training content, instructional media, training activities and process and training result evaluation.
3. On the effectiveness of the developed curriculum, it is found that the evaluation by experts shows that the developed training curriculum has the congruence at a high level with IOC between 0.60 - 1.00 and the appropriateness at a high level with = 4.45. The participating school directors has a higher knowledge and understanding on planning skill after the training than before the training with a statistical significance at .05 level and shows the effectiveness index (E.I.) at 0.70.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 102.69 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 157.82 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 59.52 KB |
4 | บทคัดย่อ | 141.46 KB |
5 | สารบัญ | 117.08 KB |
6 | บทที่ 1 | 348.17 KB |
7 | บทที่ 2 | 2,024.59 KB |
8 | บทที่ 3 | 249.12 KB |
9 | บทที่ 4 | 497.65 KB |
10 | บทที่ 5 | 208.98 KB |
11 | บรรณานุกรม | 314.51 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 116.87 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 2,886.41 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 489.59 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 2,531.95 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 1,320.77 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 81.14 KB |