สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานโรงเรียนคุณธรรม และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกันที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันและ3) หาแนวทางการยกระดับการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานโรงเรียนคุณธรรม และครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2,285 คน จาก 45 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานโรงเรียนคุณธรรม และครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ F - test ( One – Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) พฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น 2) เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม 3) มีกระบวนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมทั้งโรงเรียน 4) เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพัฒนาคุณธรรม 5) มีกลไกคณะทำงานและใช้โครงงานคุณธรรมเป็นเครื่องมือที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม 6) มีองค์ความรู้/นวัตกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมและมีการบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนและ 7) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง
2. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานโรงเรียนคุณธรรม และครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน
3. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานโรงเรียนคุณธรรม และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05
4. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานโรงเรียนคุณธรรม และครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน
5. แนวทางการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ที่ควรพัฒนา ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ 1) มีองค์ความรู้/นวัตกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมและมีการบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนและ 2) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง
The purposes of this research were (1) to examine the operational effectiveness of the moral schools of OBEC; 2) to compare the opinions of school administrators, teachers in charge of moral school projects, teachers, all classified by different position, work experience, and school sizes; 3)to establish guidelines for upgrading the operations of the moral schools of OBEC. The sampleswere school administrators, teachers in charge of moral school projects, and teachers, yielding a total of 329 - drawn from 2,285 subjects from 45 schools under theOffice of Secondary Educational Service Area 23, in the second semester of academic year 2018. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire. Statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation, and F - test (One – Way ANOVA)
The findings were as follows:
1. The operational effectiveness of the moral schools of OBEC, as a whole,wereat a high level in descending order as follows: 1) increased desirable behaviors; 2) creation of a participation process; 3) whole school ethical and moral development process; 4)beinga learning resource for moral development; 5) having a dynamic committee and implementing a moral project as a tool to encourage everyone to participate in performing and improvingmoral schools; 6) having knowledge and innovation to enhancemoralsand to integrate them intoclassroom management; and 7) reducing episodes of misbehaviors.
2. The opinions of school administrators, teachers in charge of moral school projects, and teachers with different position showed no differences.
3. The opinions of school administrators, teachers in charge of moral school projects, and teachers with different work experience were statistically significantly different at a .05 level.
4. The opinions of school administrators, teachers in charge of moral school projects, and teachers from different school sizes were not significantly different.
5. The guidelines for improving effective operations of moral schools of OBEC involved two particular aspects: 6) having knowledge and innovation to enhancemorals and to integrate them into classroom management; and 7) reducing episodes of misbehaviors.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 84.88 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 352.21 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 144.00 KB |
4 | บทคัดย่อ | 114.44 KB |
5 | สารบัญ | 148.72 KB |
6 | บทที่ 1 | 175.38 KB |
7 | บทที่ 2 | 739.54 KB |
8 | บทที่ 3 | 392.92 KB |
9 | บทที่ 4 | 498.11 KB |
10 | บทที่ 5 | 319.22 KB |
11 | บรรณานุกรม | 180.04 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 1,350.77 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 177.85 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 443.34 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 231.23 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 167.10 KB |