สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียน 2) ศึกษาประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กับประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียน 4) ค้นหาปัจจัยการบริหารงานวิชาการที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียน และสมการพยากรณ์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การการศึกษามัธยม เขต23 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 จำนวน 360 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) แบบขั้นตอน (Stepwise)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน
2. ประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายข้ออยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในภาพรวม มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง (r = 0.560)
4. ตัวแปรพยากรณ์ที่ดี ได้แก่ ปัจจัยการบริหารงานวิชาการด้านทรัพยากรการเรียนรู้ และด้านแหล่งเรียนรู้ และเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้
ประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียน Y = 0.859 + 0.459X6 + 0.428X7
และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Z = 0.459Z6 + 0.428Z7
This study aimed to 1) investigate factors regarding academic affairs management in schools, 2) identify students’ learning achievement in schools , 3) analyze relationship between factors in academic affairs management and learning achievements in schools , and 4) find out factors on academic affairs management as good predicting equations of students’ learning achievements as well as predicting equations in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. Samples consisted of 360 teachers in schools. A tool used to collect data was a questionnaire. Frequency, percentage, mean, standard deviation and Stepwise Multiple Regression were employed.
The findings of this study were as follows:
1. The factors on the academic affairs management in the schools under the Office of the Secondary Service Area 23 obtained the learning implementation, in general and in particular, at the high level.
2. The learning effectiveness of the students, as a whole and in each aspect, was at the high level.
3. The factors on the academic affairs management in the schools obtained the relationship with the students’ learning effectiveness at the .05 level of significance. The positive relationship was at the moderate level (r= 0.560).
4. The good variables included the following aspects: academic affairs management on learning resources and learning sources. They could be written in terms of equations:
The students’ learning effectiveness Y=0.859+0.459X6+0.428X7 and this could be written in forms of standardized score as follows: Z=0.459Z6 + 0.428Z1.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 285.24 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 41.88 KB |
3 | บทคัดย่อ | 98.83 KB |
4 | สารบัญ | 144.12 KB |
5 | บทที่ 1 | 132.54 KB |
6 | บทที่ 2 | 486.01 KB |
7 | บทที่ 3 | 122.38 KB |
8 | บทที่ 4 | 223.35 KB |
9 | บทที่ 5 | 120.24 KB |
10 | บรรณานุกรม | 102.46 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 153.10 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 92.78 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 165.66 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 50.79 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 295.33 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 45.36 KB |