ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัย
Development of Learning Experiences Package Using Contemplative and Brain Based Learning (BBL) to Enhance Early Childhood Students’ Development and Self- confidence
ผู้จัดทำ
ชุลีกร จันทรโคตร รหัส 57421231123 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์, ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเด็กปฐมวัย และความเชื่อมั่นในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของดัชนีประสิทธิผล 2) เปรียบเทียบพัฒนาการและความเชื่อมั่นในตนเองระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน และ 3) เปรียบเทียบพัฒนาการเด็กปฐมวัยและความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูต่างกัน ประชากรเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ศูนย์เครือข่ายโพนสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2558  จำนวน 9 โรงเรียน จำนวน 9 ห้องเรียน จำนวนเด็ก 204 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-เด็กหญิง อายุระหว่าง  5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปุ่งสหราษฎร์บำรุง ศูนย์เครือข่ายโพนสามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 28 คน  ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิดประกอบด้วย 1) ชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) 2) แบบสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3)แบบวัดพัฒนาการด้านสติปัญญาและ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสถิติทดสอบที (t-test แบบ Dependent Samples)การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One-way ANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว (One–way MANCOVA) 

  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) มีค่าค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยและความเชื่อมั่นในตนเอง คิดเป็นร้อยละ 69.18 และ 68.00 ตามลำดับ มีค่าดัชนีประสิทธิผลรวมร้อยละ68.72 ซึ่งมีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานดัชนีประสิทธิผลที่กำหนดไว้

2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยการใช้ชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) มีพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยการใช้ชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) มีความเชื่อมั่นในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกันเมื่อได้เรียนโดยการใช้ชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) มีพัฒนาการเด็กปฐมวัยและความเชื่อมั่นในตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this study were 1) develop the learning experiences package using Contemplative Learning and Brain Based Learning (BBL) to enhance early childhood students’ (kindergarteners’) development and self-confidence to contain the set efficiency and effectiveness index, 2) to compare early childhood students’ development and self-confidence possessed during the period of studying through the learning experiences package and after studying through the learning experiences package, 3) to compare the development and self-confidence of two groups of early childhood students who had been raised differently. The population consisted of 204 early childhood students from nine classrooms in nine school of Phonsamakkhi School Network under the Office of Primary Educational Service Area 1.The samples were 28 early childhood students who were studying in the second semester of 2015 academic year at Ban Pungsaharajbamrung School, Phonsamakkhi School Network under the Office of Primary Educational service Area 1. They were in the second year of their early childhood education. All of them were form 5-6 years old. Using the schools as the sampling unit, these subjects were gained through cluster random sampling. The instruments included 1) the learning experiences package using Contemplative Learning and Brain Based Learning, 2) the form to observe and record the students’ development, 3) the form to measure the students’ cognitive development, and 4) the form to observe the students’ self-confidence. The statistics used for data analysis and hypothesis testing comprised of percentage, mean, standard deviation, t-test (Dependent Samples), One-way ANOVA, One-way ANCOVA, and One-way MANCOVA.

  The study revealed these results:

1. Regarding the students’ development, the learning experiences package using Contemplative Learning and Brain Based Learning (BBL) had its effectiveness index of 69.18% and 68% concerning the students’ self-confidence. 

The results were higher than the ser effectiveness index.

2. After the students had learnt through the learning experiences package using Contemplative Learning and Brain Based Learning (BBL), their development was statistically higher that of before at .05 level of significance.

  3. After the students had learnt through the learning experiences package using Contemplative Learning and Brain Based Learning (BBL), their 

self-confidence was statistically higher than that of before at .05 level of significance.

4. After two groups of early childhood students who had been raised differently had learnt through the learning experiences package using Contemplative Learning and Brain Based Learning (BBL), their development and self-confidence were statistically higher than those of before at .05 level of significance.

คำสำคัญ
ชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญา, การเรียนรู้โดยใช้สมอง, เป็นฐานพัฒนาการเด็กปฐมวัยและความเชื่อมั่นในตนเอง
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 94.25 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 83.92 KB
3 ประกาศคุณูปการ 78.74 KB
4 บทคัดย่อ 194.08 KB
5 สารบัญ 174.14 KB
6 บทที่ 1 354.98 KB
7 บทที่ 2 1,591.73 KB
8 บทที่ 3 587.48 KB
9 บทที่ 4 198.39 KB
10 บทที่ 5 311.30 KB
11 บรรณานุกรม 324.95 KB
12 ภาคผนวก ก 82.12 KB
13 ภาคผนวก ข 1,234.96 KB
14 ภาคผนวก ค 431.46 KB
15 ภาคผนวก ง 287.11 KB
16 ภาคผนวก จ 1,786.32 KB
17 ภาคผนวก ฉ 650.69 KB
18 ประวัติย่อของผู้วิจัย 226.67 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 มกราคม 2561 - 16:09:23
View 3018 ครั้ง


^