ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Model for Developing Community Participation to Promote Educational Quality Management in Small Sized Primary Schools in the Northeastern Region
ผู้จัดทำ
คนอง ศรีสรณ์ รหัส 57520248102 ระดับ ป.เอก ภาคปกติ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การหาองค์ประกอบของการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 378 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างและการตรวจสอบรูปแบบ ประกอบด้วย การร่างรูปแบบ การตรวจสอบร่างรูปแบบและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การทดลองและประเมินการใช้รูปแบบในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ทดลองและประเมินรูปแบบในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 1 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความต้องการในการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดการศึกษา ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ด้านการกำกับดูแลและตรวจสอบการจัดการศึกษา และด้านการประเมินผลการจัดการศึกษา

2. รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์รูปแบบ กระบวนการ แนวทางการนำรูปแบบไปใช้และผลที่เกิดหลังการใช้รูปแบบ ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับความเหมาะสมที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือวัตถุประสงค์ของรูปแบบและแนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนความเป็นไปได้ของรูปแบบเรียงตามลำดับที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนหลักการและแนวคิด  วัตถุประสงค์ของรูปแบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน

3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้กลุ่มบุคคลในชุมชน 5 กลุ่มทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และแผนงานโครงการร่วมกัน 14 โครงการ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น สถานศึกษามีความเข้มแข็งมีคุณภาพ ได้รับความไว้วางใจจากชุมชนและเกิดความภาคภูมิใจต่อสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research aimed to 1) examine the needs of community participation to promote educational quality management; 2) construct and develop a model for developing community participation to promote educational quality management; 3) evaluate the developed model. This research employed the research and development methodology and was divided into three phases: Phase I was related to examining the components of community participation through document inquiries, in-depth interviews of experts, and a survey. The 5-point rating scale questionnaire was administered to the samples of 378 participants, including school administrators, teachers and chairpersons of basic school education committee in small sized primary schools in the northeastern region, in the 2016 academic year. The data analysis was done through frequency, percentage, mean, and standard deviation. Phase II was related to model construction and validation. This stage consisted of drafting model and validating a draft model. The model confirmation were also verified by experts. Phase III concerned model implementation and evaluation in a small sized primary school under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area.  The data was analyzed through mean and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The needs of community participation to promote educational quality management in small sized primary schools involved five aspects, which were at a high level in overall, with mean scores ranking from high to low in descending order as follows: Education Management, Education Administration, Education Management Promotion and Support, Supervision and Inspection in Education Management, and Educational Evaluation.

2. A model for developing community participation to promote educational quality management in small sized primary schools comprised principles and concepts, objectives, procedures, and guidelines for model implementation. The effects after the model implementation revealed that the model appropriateness and possibilities were at the highest level in overall. The highest scoring aspects in terms of model appropriateness comprised objectives, and the guidelines for model implementation. In terms of the possibilities, the guidelines for model implementation yielded the highest mean scores, whereas the principles and concepts, and objectives had the same mean scores.

3. The effects after the model evaluation revealed that five groups of people living in communities agreed on a Memorandum Of Understanding (MOU) in creating vision, mission, goals and mutual project plans for 14 projects, which led to an improvement of student learning achievement. Such effects also included the improvement of schools’ strengths and quality, and the increased senses of trustworthiness from community and school pride. In addition, the satisfaction of stakeholders toward the model as a whole was at the highest level.

คำสำคัญ
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียน
Keywords
Community Participation, Educational Quality Management in Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 98.49 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 575.50 KB
3 ประกาศคุณูปการ 60.41 KB
4 บทคัดย่อ 138.40 KB
5 สารบัญ 266.57 KB
6 บทที่ 1 365.68 KB
7 บทที่ 2 1,739.55 KB
8 บทที่ 3 531.83 KB
9 บทที่ 4 1,587.51 KB
10 บทที่ 5 391.63 KB
11 บรรณานุกรม 323.84 KB
12 ภาคผนวก ก 136.32 KB
13 ภาคผนวก ข 511.74 KB
14 ภาคผนวก ค 574.94 KB
15 ภาคผนวก ง 481.39 KB
16 ภาคผนวก จ 192.62 KB
17 ภาคผนวก ฉ 961.00 KB
18 ประวัติย่อของผู้วิจัย 85.70 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
6 เมษายน 2562 - 16:40:17
View 964 ครั้ง


^