สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และ 3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบ ยืนยันความถูกต้องและประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และการวิจัยเชิงสำรวจโดยสอบถามระดับความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวน 360 คน จาก 60 โรงงาน กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จากผู้บริหารโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในจังหวัดสกลนคร ที่สมัครใจเข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 186 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย การสร้างและพัฒนารูปแบบ ตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้และตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ จำนวน 30 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 192 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การสร้างจุดเน้น พันธกิจและทิศทางองค์การ 2) การมีวิสัยทัศน์ และการพยากรณ์ 3) การกำหนดกลยุทธ์ 4) การปฏิบัติตามกลยุทธ์ และ 5) การควบคุมกลยุทธ์ ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การปฏิบัติตามกลยุทธ์ การกำหนดกลยุทธ์ การควบคุมกลยุทธ์ การมีวิสัยทัศน์ และการพยากรณ์ และการสร้างจุดเน้น พันธกิจ และทิศทางองค์การ
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย 1) หลักการของการพัฒนา 2) วัตถุประสงค์ของการพัฒนา 3) เนื้อหา 4) กระบวนการของการพัฒนา 5) การวัดผลและประเมินผล และ 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้
3. ผลของการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ พบว่า
3.1 ความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70)
3.2 ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร พบว่า ก่อนการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ผู้บริหาร มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 25.80 อีกทั้งผลการสัมภาษณ์ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3.3 ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร พบว่าผู้บริหารที่เข้ารับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were to 1) examine the components of strategic leadership; 2) construct and develop a strategic leadership model; and 3) identify the effectiveness of the developed model. The research methodology employed the research and development (R&D) approach comprising three phases: Phase I started with examining components of strategic leadership through document inquiries and scholars’ in-depth interviews. The strategic leadership components’ confirmation and assessment of appropriateness were also determined. A survey using a five-point scale questionnaire was also conducted asking executives’ needs for developing strategic leadership. The samples of 186 volunteer executives, obtained through purposive sampling technique, were drawn from 360 executives from 60 ready-made garments factories in Sakon Nakhon province. Phase II was related to model construction and development. Ten experts reviewed and assessed the appropriateness of the developed model. Phase III concerned the implementation of the 192-hour strategic leadership development model and the examination of model effectiveness. A total of 30 participants included in this phase. Statistic for analysis data were done through mean and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The strategic leadership components of executives comprised five components as follows: 1) Creation of organizational orientation, mission, and direction; 2) Having mission and prediction; 3) Setting strategies; 4) Incorporating strategies into business performance; and 5) Strategic control. The level of strategic leadership as a whole was at a high level, and ranked in descending order from high to low mean scores: Incorporating strategies into business performance, Setting strategies, Strategic control, Having vision and prediction, and Creation of organizational orientation, mission, and direction.
2. The model for developing strategic leadership comprised 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) development process, 5) evaluation and measurement, and 6) media and learning resources.
3. The effects after the examination of the developed model effectiveness revealed that:
3.1 The appropriateness of the developed model as a whole was at the highest level ( = 4.70)
3.2 The effects after the implementation found that the strategic leadership at the pre-implementation stage as a whole was at a moderate level, compared to that of the post-implementation stage at a high level with the percentage of progress of 25.80. The effects from interviews also resulted in the same direction.
3.3 The knowledge test results concerning strategic leadership of executives revealed that the post-implementation mean scores of participants were higher than those of the pre-implementation stage at a statistical significance of the .01 level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 80.09 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 724.83 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 58.25 KB |
4 | บทคัดย่อ | 105.44 KB |
5 | สารบัญ | 184.42 KB |
6 | บทที่ 1 | 184.55 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,504.94 KB |
8 | บทที่ 3 | 445.36 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,067.59 KB |
10 | บทที่ 5 | 369.52 KB |
11 | บรรณานุกรม | 168.96 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 154.73 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 1,463.29 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 547.85 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 175.37 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 92.17 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 530.24 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 79.62 KB |