สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันกับสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติงานโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) และ 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาประถมศึกษา จำนวน 373 คน ปีการศึกษา 2561 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือการวิจัยตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 ท่าน จากการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาพบว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้องรายข้ออยู่ระหว่าง .90-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การยกร่างกลยุทธ์ ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการทำกลยุทธ์และการสร้างกลยุทธ์ ระยะที่ 3 ยืนยันและสรุปผลประเมินร่างกลยุทธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 ท่านและจัดประชาพิจารณ์ร่างกลยุทธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 50 ท่าน เพื่อประเมินร่างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กและยืนยันความถูกต้อง
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2579) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับความต้องการความจำเป็นจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา 2) ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา 3) ด้านการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4) ด้านการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 5) ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และ 6) ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
2. กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2579) มีองค์ประกอบกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) การกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจองค์กร 2) การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ 3) การวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการขององค์กร 4) การกำหนดทางเลือก 5) การกำหนดกลยุทธ์ 6) การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติและกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมีกลยุทธ์ จำนวน 6 กลยุทธ์ 61 เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด 102 โครงการ 485 กิจกรรม แยกรายละเอียดตามกลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา ประกอบด้วย 10 เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด 18 โครงการ 90 กิจกรรม 2) กลยุทธ์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษ ประกอบด้วย 10 เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด 12 โครงการ 71 กิจกรรม 3) กลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 10 เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด 20 โครงการ 75 กิจกรรม 4) กลยุทธ์ด้านการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 10 เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด 23 โครงการ 138 กิจกรรม 5) กลยุทธ์ด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประกอบด้วย 11 เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด 14 โครงการ 67 กิจกรรม และ 6) กลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ประกอบด้วย 10 เป้าประสงค์/ตัวชี้วัด 15 โครงการ 44 กิจกรรม และการประเมินร่างกลยุทธ์ โดยอิงผู้เชี่ยวชาญและการจัดประชาพิจารณ์ ในแต่ละด้าน พบว่า ด้านอรรถประโยชน์จากการประเมิน ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
The purposes of this research were to 1) examine the current and desired conditions of performance of small-sized primary schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) in the northeastern region based on the National Education Plan (NEP) (B.E. 2560-2579); 2) establish the administrative strategies for small-sized primary schools. This policy research was performed in three phases: Phase I was related to a survey seeking for basic information. The samples were 373 primary school administrators in the northeastern region in the academic year 2018. The research instrument was validated by ten experts. The resulting content validity in terms of the index of item objective congruence ranged between .90 -1.00. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation, Phase II was related to drafting the administrative strategies through document analysis concerning relevant strategic formulation; and Phase III was related to confirming and summarizing the drafted strategy through ten experts’ reviews and the public hearing with 50 experts to assess and confirm the accuracy of the drafted administrative strategies of small-sized primary schools.
The findings revealed that:
1. The current and desired conditions of small-sized primary schools under the OBEC in the northeastern region based on the NEP (B.E. 2560-2579) revealed that all aspects as a whole were at a high level ranging in according to the needs from high to low mean scores: 1) Development of effective educational management system; 2) Creation of educational opportunity and equality; 3) Educational management to enhance quality of life befriending with environment; 4) Human potential development of all ages and creation of knowledge-based learning society; 5) Human development on research and innovation to increase the country competitive competency; and 6) Educational management for social and national stability.
2. Administrative strategies for small-sized primary schools involved 1) Determining organizational philosophy, visions and missions; 2) Creating policy, goals and objectives; 3) Analyzing problems and needs of organizations; 4) Developing alternatives; 5) Creating strategies; and 6) Implementing strategies. The administrative strategies of small-sized schools covered six strategies with 61 objectives/indicators from 102 projects, comprising 485 activities. The mentioned six strategies could be described as: 1) Effective development of educational management system consisted of ten objectives/indicators with 18 projects, comprising 90 activities; 2) Creation of educational opportunity and equality consisted of ten objectives/indicators with 12 projects, comprising 71 activities; 3) Educational management to enhance quality of life befriending with environment consisted of ten objectives/indicators with 20 projects, comprising 75 activities; 4) Human potential development of all ages and creation of knowledge-based learning society consisted of ten objectives/indicators with 23 projects, comprising 138 activities. 5) Human development on research and innovation to increase the country competitive competency consisted of 11 objectives/indicators with 14 projects, comprising 67 activities, and 6) Educational management for social and national stability consisted of ten objectives/ indicators with 15 projects, comprising 44 activities. In accordance with the results from the experts, the public hearing verified each aspect of the proposed draft strategies and found that the usefulness, the possibilities, the appropriateness, and the accuracy of the developed strategies, as a whole were at the highest level in all aspects.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 286.34 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 648.41 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 68.33 KB |
4 | บทคัดย่อ | 120.53 KB |
5 | สารบัญ | 179.74 KB |
6 | บทที่ 1 | 226.10 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,866.54 KB |
8 | บทที่ 3 | 182.82 KB |
9 | บทที่ 4 | 777.49 KB |
10 | บทที่ 5 | 412.69 KB |
11 | บรรณานุกรม | 233.45 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 558.91 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 1,031.32 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 2,679.93 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 378.90 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 91.67 KB |