ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Development of Academic Collaborative Network Management Model for Private Schools in Basic Education Level under the Office of the Private Education Commission in the North-eastern Region of Thailand
ผู้จัดทำ
จิระศักดิ์ สร้อยคำ รหัส 57632233117 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ, ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) พัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัย เป็น 4 ระยะ คือ  ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการจัดการเครือข่าย ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่าย ระยะที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมรูปแบบการจัดการเครือข่าย ระยะที่ 4 การจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเครือข่าย เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย 117 ตัวแปร  คือ 1) ด้านปัจจัยเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ มี 5 องค์ประกอบย่อย 22 ตัวแปร 2) ด้านกระบวนการขอบเขตและขั้นตอนวิธีการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการมี 6 องค์ประกอบย่อย 72 ตัวแปร และ 3) ด้านผลลัพธ์ มี 5 องค์ประกอบย่อย 23 ตัวแปร

2. รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม โดยรวมในระดับมาก (ar{x} = 4.01) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านปัจจัยเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ (ar{x} = 4.01) ด้านผลลัพธ์ (ar{x} = 4.01) และด้านกระบวนการขอบเขตและขั้นตอนวิธีการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ (ar{x} = 4.00) ตามลำดับ

3. คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยืนยันโดยการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14 คน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ามีความเหมาะสม เป็นไปได้และเป็นประโยชน์

Abstract

The objectives of this study were to 1) develop an academic collaborative network management model for private schools in basic education level under the Office of the Private Education Commission in the North-eastern Region of Thailand; 2) Assess the appropriateness of the developed model and 3) create a manual on the developed model. The study was conducted in 4 phases. The first phase was the study of factors in network management to develop a network management model in the second phase. The assessment of the developed model was carried out in the third phase while the manual on the developed model was created in the fourth phase. The tools employed in this study were an interview form and a 5-level rating scale questionnaire. Statistics implemented in data analysis were mean, standard deviation, percentage, median and interquartile range.

The findings were as follows:

1. The developed academic collaborative network management model for private schools in basic education level under the Office of the Private Education Commission in the North-eastern Region of Thailand comprised 3 factors, which were 1) 5 sub-factors on academic collaborative network; 2) 6 sub-factors on the process, scope, procedures and approaches in academic collaborative network management; 5 sub-factors on the result.

2. The overall appropriateness of the developed model was at a high level (ar{x} = 4.01). The importance of each factor could be arranged by its mean from the highest to lowest as follows: academic collaborative network (ar{x} = 4.01), result (ar{x} = 4.01) and process, scope, procedures and approaches in academic collaborative network management (ar{x} = 4.00).

3. The opinion from 14 experts in the group meeting confirmed that the author's manual on the developed model was appropriate, possible and useful for implementation.

คำสำคัญ
รูปแบบ, การจัดการเครือข่าย, ความร่วมมือทางวิชาการ, โรงเรียนเอกชน. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords
Model Network Management Academic Collaboration Private School, Basic Education Level
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 113.29 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 139.29 KB
3 ประกาศคุณูปการ 71.54 KB
4 บทคัดย่อ 136.33 KB
5 สารบัญ 257.22 KB
6 บทที่ 1 272.80 KB
7 บทที่ 2 2,368.89 KB
8 บทที่ 3 321.81 KB
9 บทที่ 4 1,635.82 KB
10 บทที่ 5 542.10 KB
11 บรรณานุกรม 367.88 KB
12 ภาคผนวก ก 1,030.13 KB
13 ภาคผนวก ข 183.89 KB
14 ภาคผนวก ค 1,975.69 KB
15 ภาคผนวก ง 489.50 KB
16 ภาคผนวก จ 328.86 KB
17 ภาคผนวก ฉ 1,089.23 KB
18 ประวัติย่อของผู้วิจัย 96.50 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 เมษายน 2562 - 15:57:40
View 1195 ครั้ง


^