ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัมอย่างยั่งยืนในประเทศไทย
Strategies for Sustainable Development of Date Palms in Thailand
ผู้จัดทำ
กฤษดา จักรเสน รหัส 57632234105 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ วะสีนนท์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทสภาวการณ์ของอินทผลัมในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัมและ 3) ยืนยันแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ได้แก่ นักวิชาการทางด้านเกษตร ตัวแทนผู้ปลูกอินทผลัม ตัวแทนหอการค้าจังหวัด ตัวแทนภาคอุตสาหกรรม ตัวแทนกระทรวงมหาดไทย ตัวแทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และตัวแทนพาณิชย์จังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. อินทผลัมมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2555 การปลูกอินทผลัมมี 2 ชนิด คือ อินทผลัมชนิดเมล็ดและอินทผลัมชนิดเนื้อเยื่อ ผลผลิตอินทผลัมจะออกประมาณเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของทุกปี

2. ผลการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัม โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน จุดอ่อน ได้แก่ 1) ประชาชนขาดความรู้ ความสามารถการปลูกอินทผลัมที่ถูกต้อง 2) บุคลากรขาดความเชี่ยวชาญ 3) การปลูกแบบลองผิดลองถูก 4) ไม่มีอำนาจในการต่อรองด้านราคาจำหน่าย 5) ไม่มีช่องทางค้าขายผลผลิตกับต่างประเทศ และจุดแข็ง ได้แก่ 1) มีต้นกล้าอินทผลัมจำหน่าย 2) การรวมกลุ่มผู้ปลูก 3) ราคาผลผลิตสูง 4) การรับประกันต้นกล้าอินทผลัม ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก โอกาส ได้แก่ 1) การรวมกลุ่มของสมาชิกในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน 2) การส่งเสริมการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัม ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์การบริหารการจัดการอินทผลัม มี 32 กลยุทธ์ 2) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนอินทผลัม มี 5 กลยุทธ์ 3) ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมขององค์กรอินทผลัม มี 29 กลยุทธ์ 4) ยุทธศาสตร์มาตรฐานสากลอินทผลัม มี 7 กลยุทธ์ 5) ยุทธศาสตร์เครือข่ายความร่วมมืออินทผลัมภายในและภายนอก มี 8 กลยุทธ์ และ 6) ยุทธศาสตร์การสร้างแบรนด์อินทผลัม  มี 3 กลยุทธ์และผลการยืนยันยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัมที่พัฒนาขึ้น โดยรวมมีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านการวิจัยอินทผลัมครบวงจร 3) การแข่งขันสินค้ากับต่างประเทศ อุปสรรค ได้แก่ 1) ยังไม่มีนโยบายภาครัฐมารองรับ 2) ด้านราคาผลผลิตยังไม่แน่นอน 3) การส่งออกต่างประเทศ 4) มาตรฐานผลผลิตอินทผลัม และ 5) การบริหารจัดการของกลุ่มอินทผลัมยังไม่ชัดเจน

3. ยืนยันแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัมอย่างยั่งยืน ในประเทศไทย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาอินทผลัม ดังนี้ การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ การประสานงาน การสร้างเครือข่าย การร่วมตัว ในรูปแบบของสมาคม ผู้นำและการนำเสนอผลงานวิชาการ การแสดงสินค้า

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to investigate  the contexts and situations of Thailand’s date palms from the past to the present, 2) to create the strategies for developing the date palms, and 3) to confirm the guidelines on developing the strategies for improving the date palms. The target group consisted of 40 people who represented agricultural academics, date palm growers, representatives from the provincial chamber of commerce, representatives from the industrial sector, representatives from the Ministry of Interior, representatives from Sports and Tourism Ministry, and representatives from Commerce Ministry. The instruments used in the study comprised the semi-structured interview form and a questionnaire. The statistics employed for data analysis were mean, standard deviation and content analysis.

The study revealed these results:

1. The date palms were imported from abroad in 2012. Two techniques were adopted to propagate date palms: planting by seeds and by tissue culture. Date palm trees usually yield their fruits in July and August.

2. Analyzing the internal context and environment, these weaknesses had been discovered: 1) the people did not have accurate knowledge and capacities of date palm planting, 2) the personnel lacked their experience and expertise, 3) the method of trial and error was employed, 4) the lack of power to negotiate for the price, and 5) the lack of channels to export the fruits. As for the strength, these strong features had been found: 1) there were date palm seedlings to sell, 2) there was an establishment of the associations of date palm growers, 3) the prices of date palms were high, and 4) there was an assurance of date palm seedlings. Regarding the external context and environment, these opportunities had been obtained from the study: 1) date palm community enterprises were founded, 2) there  were research projects to support and promote date palm farming in full circle, and 3) the competitions with foreign countries. Of the threats, these obstacles and difficulties were unveiled in the study: 1) there were no government policies on date palm products, 2) the uncertainty of date fruit prices, 3) the export of date fruit products,  4) the standards of date palms, and 5) the unclear date palm management. Strategies for developing date palms were gained from the study and they could be classified as the following: 1) 32 strategies for managing and administrating date palms, 2) 5 strategies for agrotourism of date palm farms, 3) 29 strategies for participation from date palm associations, 4) 7 strategies for creating international standards of  date palms, 5) 8 strategies for creating collaboratively internal and external date palm networks, 6) 3 strategies for creating date palm trademarks/brands. As a whole, these strategies were appropriate at the highest levels.

3. These guidelines on developing the strategies for improving the date palms were suggested to be carried out and they had been confirmed by the specialists i.e. public relations and dissemination, coordination building, network creation, the establishment of associations or organizations, holding academic presentations and finding leaders, and launching trade fairs.

คำสำคัญ
ยุทธศาสตร์, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, อินทผลัมในประเทศไทย
Keywords
Strategies, sustainable development, date palms in Thailand
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 118.21 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 365.48 KB
3 ประกาศคุณูปการ 62.69 KB
4 บทคัดย่อ 124.07 KB
5 สารบัญ 187.34 KB
6 บทที่ 1 399.05 KB
7 บทที่ 2 1,207.05 KB
8 บทที่ 3 284.42 KB
9 บทที่ 4 5,321.62 KB
10 บทที่ 5 429.57 KB
11 บรรณานุกรม 312.85 KB
12 ภาคผนวก ก 3,550.52 KB
13 ภาคผนวก ข 875.48 KB
14 ภาคผนวก ค 378.19 KB
15 ภาคผนวก ง 73.80 KB
16 ภาคผนวก จ 90.77 KB
17 ภาคผนวก ฉ 91.35 KB
18 ภาคผนวก ช 105.88 KB
19 ภาคผนวก ซ 1,949.64 KB
20 ประวัติย่อของผู้วิจัย 77.36 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 เมษายน 2563 - 15:36:32
View 1379 ครั้ง


^