ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนสร้างคอมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
The Development of Teachers’ Potential in Learning Management through the Project-Based Learning at Sangkhomwittaya School under the Office of the Secondary Educational Service Area 20
ผู้จัดทำ
ก้องเกียรติ เทวสกุล รหัส 58421229130 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สภาพ และปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู 2) เพื่อหาแนวทางและวิธีดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) เพื่อติดตามผลของการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนสร้างคอมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน  14 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า

                 1. สภาพ และปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูด้านสภาพ

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ครูจัดการเรียนรู้ที่ไม่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ วิธีการ ที่ไม่มีความหลากหลาย ขาดเทคนิควิธีจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นแบบบรรยาย ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยวิธีท่องจำ และจดบันทึกตามเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูเตรียมไว้ นักเรียนขาดการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่มีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้และการวัดประเมินผล และด้านปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ทำให้นักเรียนไม่มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์  คิดสร้างสรรค์ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นตามหลักสูตร นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถของนักเรียน ครูขาดความสามารถในการผลิตและใช้สื่อที่มีความสมัย ในส่วนโรงเรียนขาดการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  

2. แนวทางและวิธีดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนสร้างคอมวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางและวิธีดำเนินการพัฒนา ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 เป็นการพัฒนาโดยการนิเทศแบบสอนงาน (Coaching)

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ในวงรอบ ที่ 1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจค่อนข้างน้อย   คิดเป็นร้อยละ 56.67 หลังจากได้รับการพัฒนา มีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้น คิดเป็น    ร้อยละ 89.74 ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน หลังจากการพัฒนา โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน วงรอบที่ 1 พบว่า มีผลการประเมินแผนภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี และพัฒนาต่อ ในวงรอบที่ 2 เป็นการพัฒนาโดยการนิเทศแบบสอนงาน (Coaching) พบว่า มีผลการประเมินแผนภาพรวมอยู่ระดับดีมาก ในด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน หลังพัฒนาต่อในวงรอบที่ 2 ด้วยการพัฒนาโดยการนิเทศแบบสอนงาน (Coaching) พบว่า ผู้ร่วมวิจัยทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 แสดงออกถึงพฤติกรรมในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานครบทุกด้าน ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และสามารถเรียนรู้แบบโครงงานด้วยตนเองโดยมีครูเป็นที่ปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the condition and problems of the teacherslearning management through the project-based learning 2) to find a methodology for developing teacherspotential in learning management through the project-based learning, and 3) to follow up the development of teacherspotential in learning management through the project-based learning, Sangkhomwittaya School under the Office of the Secondary Educational Service Area 20. The research was an Action Research that employed two spirals and each spiral consist of a four-stage as following: Planning, Action, Observation and Reflection. The target groups of this research were 14 researcher participants group and 69 key informants. The tools used were tests, assessment forms, observation forms and interview forms. The statistics applied for quantitative data analysis were mean, percentage, standard deviation and percentage of progress. Content analysis and content classification were employed for qualitative data analysis.

The research results were  

1. The conditions and problems of the teacherslearning management through the project-based learning. The conditions of the teacherslearning management through the project-based learning without focus on child-center, the learning management with certain type and method that focused only lecture and let students learning by memorization and take note from the lesson plans that teachers prepared and students not building of bodies of knowledge by themselves not involved in the lesson design and result measurement and assessment. And the problems of teacherslearning management through the project-based learning was teachers have lack of knowledge and understanding on project-based learning and according to this it resulted to students did not have skills in critical and synthesis thinking, creativity and basic skills required by the curriculum. In addition, the learning management did not correspond to their interests and their ability. Teachers were lack of ability to develop and use modern instructional materials as well as the school was lack of a systematic and regular internal supervision.

2. The methodology for developing teacherspotential in learning management through the project-based learning Sangkhomwittaya School under the Office of the Secondary Educational Service Area 20. The 1st spiral using workshop and internal supervision and the 2nd spiral using coaching supervision approach.

3. The results on development of teacherspotential in learning management through the project-based learning related to following aspects were the knowledge and understanding of researcher participants before the potential development was at poor level as 56.67%. After received the potential development the researcher participants have more knowledge and understanding as 89.74%.The writing the project-based learning lesson plans after the potential development. The 1st spiral using workshop and internal supervision. The result was fairly good level according to this the coaching supervision in the 2nd spiral for development. The result was very excellent level. The learning management through project-based learning of researcher participants after received the potential development in 2st spiral through the coaching supervision. The result researcher participants as 100%. The behavior learning management through project-based learning all sides. Affect students have knowledge, skill and able to ready to organize the learning management through project-based learning by themselves. And the teacher was efficiently consultant.

คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพ, การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 97.80 KB
2 ประกาศคุณูปการ 67.42 KB
3 สารบัญ 152.71 KB
4 บทที่ 1 300.34 KB
5 บทที่ 2 687.46 KB
6 บทที่ 3 332.45 KB
7 บทที่ 4 512.62 KB
8 บทที่ 5 189.81 KB
9 บรรณานุกรม 175.83 KB
10 ภาคผนวก ก 138.94 KB
11 ภาคผนวก ข 439.95 KB
12 ภาคผนวก ค 343.14 KB
13 ภาคผนวก ง 217.22 KB
14 ภาคผนวก จ 671.93 KB
15 ภาคผนวก ฉ 1,275.49 KB
16 ภาคผนวก ช 1,925.77 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 76.55 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 ธันวาคม 2560 - 10:11:25
View 1053 ครั้ง


^