สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 2) หาแนวทางการพัฒนาครูในการ
จัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการสำหรับนักเรียนในโรงเรียน และ 3) ติดตามผลการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ สำหรับนักเรียนในโรงเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผนการปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 18 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 76 คน เป้าหมายในการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน 264 คน ในปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูล เชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ สำหรับนักเรียนโรงเรียนหนองแวงวิทยานุกูล ดังนี้
1.1 สภาพการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการโรงเรียน ทั้ง 8 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมหน้าเสาธง 2) กิจกรรมคนดีศรีหนองแวง 3) กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) กิจกรรมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง 5) กิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน 6) กิจกรรมวินัยดี พาทีไพเราะ 7) กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ 8) กิจกรรมดอกแวงฟุ้งกลิ่น คืนถิ่นรากเหง้า แต่การจัดกิจกรรมยังไม่มีความต่อเนื่อง และยังขาดแบบแผนการดำเนินงานที่เป็นระบบ ทำให้การจัดกิจกรรมไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หนองแวงวิทยานุกูล พบว่า โรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก
1.2 ปัญหาการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ พบว่าครูขาดความรู้ ความเข้าใจ และครูบางคนขาดทักษะในการจัดกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรมและครูที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมมีจำนวนน้อย
2. แนวทางการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรม มี 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การศึกษาดูงาน 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ และ 3) การนิเทศติดตามผล
3. ผลการติดตามการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการ สำหรับนักเรียนในโรงเรียน พบว่า
3.1 การศึกษาดูงาน พบว่าครู มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการสำหรับนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
3.2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการมากขึ้น
3.3 การนิเทศติดตามผล พบว่า ครูได้รับความช่วยเหลือ ชี้แนะแนวทางการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกค่านิยมหลัก 12 ประการได้อย่างถูกต้อง และเกิดความมั่นใจในการจัดกิจกรรม
3.4 นักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้น จากการสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน เมื่อพิจารณาตามตัวบ่งชี้ค่านิยมหลัก 12 ประการ พบว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= 4.38)
3.5 นักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้น จากการสอบถามความพึงพอใจของผู้ร่วมวิจัย เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน เมื่อพิจารณาตามตัวบ่งชี้ค่านิยมหลัก 12 ประการ พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= 4.38)
3.6 นักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้น จากการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในโรงเรียน เมื่อพิจารณาตามตัวบ่งชี้ค่านิยมหลัก 12 ประการ พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= 4.40)
This research aimed: 1) to examine the conditions and problems in organizing fusion activities on 12 core values for students in Nong Waeng Witthayanukul School under the Office of Secondary Educational Service Area 22;
2) to establish the guidelines for teacher professional development in organizing fusion activities on 12 core values into practice; and 3) to follow up the intervention. The research methodology employed two cycles of participatory action research, with each cycle comprising four steps of planning, action, observation and reflection. The target group comprised 18 co-researchers and 76 informants. The target group at the implementation stage involved 264 students studying at Nong Waeng Witthayanukul School in the 2017 academic year. The research instruments were observation forms and interview forms. The quantitative data were analyzed by using mean, percentage and standard deviation. Content analysis was used to analyze the qualitative data, and the contents were categorized and presented in a format of descriptive data.
The findings revealed that:
1. The conditions and problems of organizing infusion activities on 12 core values were as follows:
1.1 In terms of conditions, the school organized infusion activities comprised eight activities: 1) Morning Assembly, 2) Being a Good Person of Nong Waeng, 3) Improvement of Learning Achievement Level, 4) Offering Food for Monks, 5) School Democracy Promotion, 6) Good Discipline and Manners, 7) Environmental Conservation, and 8) Dok Waeng Blossom and Return to School (Alumni Return for School Program and Activities). However, the discontinuity of said activities and restricted systemic action plans were found and identified as barriers to achieving the goal setting.
1.2 In terms of problems, teachers lacked knowledge and understanding in organizing all eight infusion activities. Some teachers lacked the skills necessary to effectively manage infusion activities. In addition, there were a limited number of teachers in charge in organizing all infusion activities.
2. The guidelines for teacher professional development in organizing infusion activities involved three means as follows: 1) a study visit, 2) a training workshop, and 3) a follow-up supervision.
3. The effects after the intervention revealed that:
3.1-3.2 After a study visit and a training workshop, teachers gained better knowledge, understanding and skills in organizing infusion activities.
3.3 After a follow-up supervision, teachers gained confidence to manage infusion activities on 12 core values into practice.
3.4 As the students’ behaviors in accordance with 12 core values greatly improved, the level of parents’ satisfactory toward the improvement of students’ behaviors concerning 12 core values indicators was rated at a high level (= 4.38).
3.5 As the students demonstrated better behaviors, the co-researchers’ satisfactory toward the improvement of students’ behaviors concerning 12 core values indicators was rated at a high level (= 4.40).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 137.19 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 638.01 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 97.25 KB |
4 | บทคัดย่อ | 167.85 KB |
5 | สารบัญ | 280.61 KB |
6 | บทที่ 1 | 317.35 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,135.40 KB |
8 | บทที่ 3 | 509.60 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,110.57 KB |
10 | บทที่ 5 | 298.84 KB |
11 | บรรณานุกรม | 239.34 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 168.64 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 1,603.22 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 492.90 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 382.02 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 1,623.70 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 137.39 KB |