ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากรในภาคกลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Factors Affecting the Revenue Collection of the Revenue Departments in the Central Region of Lao People’s Democratic Republic
ผู้จัดทำ
บุญโฮม สุวันนะลาด รหัส 58632234105 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุฑฒจักร สิทธิ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล, รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากรในภาคกลาง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากร 3) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากร และ 4) ศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากร กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน เลือกสุ่มแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 544 คน ได้แก่ บุคลากรแผนกสรรพากร ตัวแทนการค้า การผลิต และสถานประกอบการ โดยขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของเครจชี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดแบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาในการจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากร ได้แก่ 1) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับภาษีอากร 2) การประชาสัมพันธ์ 3) โครงสร้างภาษีอากร 4) วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี 5) ความรู้ ความเข้าใจ/ ทักษะของเจ้าหน้าที่ภาษีอากร และ 6) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากร ได้แก่ 1) ความรู้ ความเข้าใจ 2) การประชาสัมพันธ์ 3) การฝึกอบรม 4) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ 5) โครงสร้างภาษีอากร 6) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และ 7) การอำนวยการ 8) การประสานงาน และ 9) การมีส่วนร่วมของประชาชน

3. รูปแบบการจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ar{x}= 3.65) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การจัดองค์การ (ar{x}= 4.50) ภาวะผู้นำ (ar{x}= 3.60) การจัดคนเข้าทำงาน (ar{x}= 3.50) การประชาสัมพันธ์ (ar{x}= 3.48) การวางแผนกลยุทธ์ (ar{x}= 3.45) และการวัดและประเมินผล (ar{x}= 3.40)

4. ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากร ได้แก่ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ คือ การมีส่วนร่วมของบุคลากร การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย ด้านการวัดและประเมินผล คือ การชี้แจง ระเบียบ ข้อบังคับในการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ข้อมูลและนำผลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไข และด้านการประชาสัมพันธ์ คือ สื่อโทรทัศน์ โปสเตอร์ดิจิตอล และวิทยุ

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the state and problems of revenue collection by the Revenue Departments in the Central Region of Lao PDR since the past to the present, 2) to investigate the factors in collecting the revenue by the Revenue Departments, 3) to create the model of revenue collection of the Revenue Departments, 4) to examine the policy proposals of the revenue collection to the Revenue Departments. Purposively selected, the target group who underwent in-depth interviews consisted of 20 persons and 544   samples who could be classified as staff of Revenue Departments, trade agents, producers, and entrepreneurs. To determine the sample sizes, Krejcie and Morgan Table and simple random sampling were employed. The instruments used comprised the structured interview form and rating scale questionnaire. Statistics adopted for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The study revealed these results:

1. These state and problems were found: 1) rules, regulations and orders for tax and stamp revenue, 2) public relations, 3) tax structure, 4) supplies/materials, tools, and technology, 5) knowledge, comprehension, and skills of revenue officers, and 6) procedure and steps for revenue officers to function their job.

2. Factors in revenue collection of the Revenue Departments included the following: 1) knowledge and comprehension, 2) public relations, 3) training, 4) rules, regulations and orders, 5) tax structure, 6) procedure and steps for revenue officers to function their job, 7) administration, 8) coordination, and 9) people’s participation.

3. The model of revenue collection of the Revenue Departments was at the high level (ar{x}= 3.65). When considering each aspect, these aspects were ranked from the highest to the lowest levels: the organizational management (ar{x}= 3.65), leadership (ar{x}= 3.60), putting the people on their jobs (ar{x}= 3.50), public relations (ar{x}= 3.48), strategic planning (ar{x}= 3.45), assessment and evaluation (ar{x}= 3.40).

4. These policy proposals for revenue collection of the Revenue Departments were given: 1) strategic planning included personnel’s participation, vision establishment, setting of functions, and determining goals; 2) assessment and evaluation: explaining regulations and rules for the evaluation and assessment systematically; 3) data analysis and bringing the results to improve the revenue collection; 4) public relations consisted of media, television, digital posters, and radios.

คำสำคัญ
ปัจจัยการจัดเก็บรายได้, แผนกสรรพากรในภาคกลาง
Keywords
Factors, revenue collection, Revenue Departments in the Central Region
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 108.42 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 270.67 KB
3 ประกาศคุณูปการ 99.62 KB
4 บทคัดย่อ 145.03 KB
5 สารบัญ 183.28 KB
6 บทที่ 1 315.15 KB
7 บทที่ 2 1,885.66 KB
8 บทที่ 3 258.27 KB
9 บทที่ 4 936.97 KB
10 บทที่ 5 230.18 KB
11 บรรณานุกรม 289.08 KB
12 ภาคผนวก ก 267.08 KB
13 ภาคผนวก ข 764.40 KB
14 ภาคผนวก ค 111.70 KB
15 ภาคผนวก ง 201.51 KB
16 ภาคผนวก จ 316.92 KB
17 ภาคผนวก ฉ 122.56 KB
18 ภาคผนวก ช 1,801.43 KB
19 ประวัติย่อของผู้วิจัย 113.70 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
17 เมษายน 2563 - 15:31:08
View 779 ครั้ง


^