ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในโรงเรียนบ้านห้วยกอกหนองเค็ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The Development of Teachers’ Potential on the STEM Education Learning Management at Ban Huaikok Nong khem School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้จัดทำ
แจ่มใส แสงวงศ์ รหัส 59421229109 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม, ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education 2)พัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education 3)ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในโรงเรียนบ้านห้วยกอกหนองเค็ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ใช้กระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 2 วงรอบ ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือครูโรงเรียนบ้านห้วยกอกหนองเค็ม ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 9คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 49คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกการสัมภาษณ์ผู้เรียนแบบประเมินแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education แบบสัมภาษณ์ครู แบบสังเกตพฤติกรรมครูในการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education แบบบันทึกการนิเทศ แบบสัมภาษณ์นักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่นำเสนอแบบความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในโรงเรียนบ้านห้วยกอกหนองเค็ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 พบว่า

1.1 สภาพการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Educationพบว่าครูจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ขาดการเชื่อมโยงความรู้สู่การจัดการเรียนรู้ที่ชัดเจน รวมถึงการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ยังมีความน่าสนใจน้อย

1.2 ปัญหา การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education พบว่าครูยังขาดความรู้ และความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ยังไม่ได้รับการพัฒนาทางด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ขาดเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการเขียนแผนการจัดกิจกรรมยังไม่มีความสมบูรณ์

2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ในโรงเรียนบ้านห้วยกอกหนองเค็ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประกอบด้วย 1)การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การจัดกระบวนการเรียนรู้และ 3) การนิเทศภายใน

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education   ในโรงเรียนบ้านห้วยกอกหนองเค็ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถออกแบบการเรียนรู้ ร่วมกับผู้เรียน ใช้เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ได้ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were 1) to investigate conditions and problems of STEM education learning management; 2) to develop teachers’ potential in terms of STEM education learning management; 3) to monitor and assess the effects after developing teachers’ potential on the STEM Education learning management at Ban Huai kok Nong kem School under the Office of Sakhon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The research was employed with two spirals of action research cycles consisting of four major stages: 1) planning, 2) action, 3) observation and 4) reflection. The target group consisted of nine teachers as co-researchers including the researcher working at Ban Huai kok Nong kem School and 49 informants. The instruments used for data collection were student interview forms, an assessment form forlesson plans on the STEM Education method,teacher interview forms, teacher behaviors’ observation forms, a supervision form,Interview forms of students on the STEM Education learning management, student behaviors’observation forms. Quantitative data were analyzed by mean, percentage, and standard deviation. Content analysis was employed for qualitative data in forms of content classification and descriptive presentation.

The findings of this research were as follows:

1. The conditions and problems of STEM Educationlearning management at Ban Huai kok Nong kem School under the Office of Sakhon Nakhon Primary Educational Service Area 1 revealed that:

1.1 In terms of conditions, teachers integratedthe STEM Education method into teaching practice, but failed to connect their knowledge to a clear focus on learning management. The instructional design was rated as less interesting.

1.2 In terms of problems, teachers lacked of knowledge and understanding in writinglessonplans. They have not yet had any formal trainingin designing learning activities and learning approaches. In addition, teachers did not complete detailed lesson plans.

2. The guidelines for developing teachers’ potential on STEM Education learning management at Ban Huai kok Nong kem School under the Office of Sakhon Nakhon Primary Educational Service Area 1comprised of 1) a workshop, 2) a learning managementprocess, and 3) an internal supervision.

3. The effects after the intervention showed that: Teachers gained knowledge and understanding about STEM Education learning management. In addition, teachersand learners collaborated in designing instruction activities. Teachers also employed various learning approaches into teaching practice. Moreover, the STEM Education lesson planswritten by the teachers were rated at the highest level.

คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education
Keywords
Teacher’s Potential Development, STEM Education Learning Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 191.14 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 393.99 KB
3 ประกาศคุณูปการ 105.90 KB
4 บทคัดย่อ 151.40 KB
5 สารบัญ 146.77 KB
6 บทที่ 1 275.74 KB
7 บทที่ 2 947.20 KB
8 บทที่ 3 271.32 KB
9 บทที่ 4 736.36 KB
10 บทที่ 5 223.49 KB
11 บรรณานุกรม 306.53 KB
12 ภาคผนวก ก 218.41 KB
13 ภาคผนวก ข 653.27 KB
14 ภาคผนวก ค 823.15 KB
15 ภาคผนวก ง 779.56 KB
16 ภาคผนวก จ 403.59 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 200.96 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
-
View 713 ครั้ง


^