ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
The Relationship between Teacher Leadership and the Effectiveness of Academic Affairs Administration under the Office of the Secondary Education Service Area 21
ผู้จัดทำ
นิรมล เตชณัชถิรกุล รหัส 59421229206 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 เปรียบเทียบภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 348 คนจำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน  90  คน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ จำนวน 56 คน และครูผู้สอน จำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนและแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOWA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการจำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. ภาวะผู้นำครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกันส่วนประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

4. ภาวะผู้นำครู จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกันส่วนประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำครู (Xt) กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ (Yt) โดยรวม พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ได้แก่

6.1 แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำครู ด้านวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ที่เหมาะสมกับความเป็นครูสรุปแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้ 1) ประเมินตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้เรียนและผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม 2) เห็นคุณค่า ให้ความสำคัญในความคิดเห็นหรือผลงาน และให้เกียรติแก่ผู้อื่นและ 3) ปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำของผู้อื่นให้มีความผูกพันและมุ่งมั่นต่อเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน

6.2 แนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น สรุปแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้ 1) วิเคราะห์กรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำไว้ 2) วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อกำหนดจุดเน้น 3) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาและชุมชน และ 4) จัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นของสถานศึกษา

Abstract

This research aimed to examine the level of teacher leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools under the Office of Secondary Education Service Area 21; to compare teacher leadership and the effectiveness of school academic affairs administration based on the opinions of school administrators and teachers classified by position, school sizes, and work experience; to identify the relationship between teacher leadership and the effectiveness of school academic affairs administration; and to establish the guidelines for developing teacher leadership and the effectiveness of school academic affairs administration.

The study sample consisted of a total of 348 participants including 90 school administrators, 56teachers in charge of academic affairs, and 202 teachers in schools under the Office of Secondary Education Service Area 21 in the 2016 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires exploring teacher leadership and the effectiveness of school academic affairs administration, and interview forms concerning the guidelines for leadership development. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA), and Pearson Product-Moment Correlation Coefficient

The findings were as follows:

1. Teacher Leadership and the effectiveness of academic affairs administration as a whole and each aspect were at a high level.

2. Teacher Leadership and the effectiveness of academic affairs administration classified by position as a whole were not different.

3. Teacher leadership classified by school sizes as a whole was not different. On the other hand, the effectiveness of academic affairs administration as a whole was statistically significant at the 0.01 level.

4. Teacher leadership classified by work experience as a whole was not different. On the other hand, the effectiveness of academic affairs administration as a whole was statistically significant at the 0.05 level.

5. The respondents’ opinions revealed that teacher leadership (Xt) as a whole were not correlated with the academic affairs effectiveness (Yt).

6. The guidelines for developing teacher leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools under the Office of the Secondary Education Service Area 21 revealed that:

6.1 The guidelines for teacher leadership development in terms Of an appropriate level of maturity for teachers involved: 1) Self-assessment on teachers’ expressive behaviors to learners and others, and self and community responsibility; 2)Adding value for others’ opinions or contributions and to respect others; and 3)Shifting the mindset and actions of others to encourage commitment and willingness to achieve the goals of working together.

6.2 The guidelines for developing the effectiveness of academic affairs administration in terms of views expressed concerning local curriculum development and operations involved: 1) Analyzing the local learning framework developed by the Office of Educational Service Area; 2) Analyzing the school curriculum to determine the focus; 3) Studying and analyzing information of school and communities; and 4) Creating a local school curriculum.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำครู, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ
Keywords
Teacher Leadership, Effectiveness of Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 110.25 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 607.56 KB
3 ประกาศคุณูปการ 85.29 KB
4 บทคัดย่อ 107.13 KB
5 สารบัญ 266.22 KB
6 บทที่ 1 306.53 KB
7 บทที่ 2 46.59 KB
8 บทที่ 3 310.03 KB
9 บทที่ 4 2,158.10 KB
10 บทที่ 5 353.75 KB
11 บรรณานุกรม 198.73 KB
12 ภาคผนวก ก 135.54 KB
13 ภาคผนวก ข 12,635.50 KB
14 ภาคผนวก ค 462.71 KB
15 ภาคผนวก ง 400.78 KB
16 ภาคผนวก จ 104.71 KB
17 ภาคผนวก ฉ 103.65 KB
18 ภาคผนวก ช 641.09 KB
19 ประวัติย่อของผู้วิจัย 79.85 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 มีนาคม 2562 - 13:17:01
View 777 ครั้ง


^