สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 2) เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารและประสิทธิผลโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และ 5) หาแนวทางการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 355 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน 63 คน และครูผู้สอน จำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลโรงเรียน ทั้งฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกมีค่า .25 ถึง .93 ความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนก .25 ถึง .96 ความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 ด้านประสิทธิผลโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนก .25 ถึง .93 ความความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสัมพันธ์ของสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน พบว่า ตัวแปรที่ศึกษาส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน มีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (x23) การมีวิสัยทัศน์ (x24) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (x11)
สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้
Y’ = 0.885 + 0.508 X23 + 0.333 X24 + 0.105X11
และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Z’ = 0.567ZX23 + 0.329ZX24 + 0.106ZX11
6. แนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน มีจำนวน 3 ด้าน ประกอบด้วย
6.1 แนวทางพัฒนา สมรรถนะหลัก มีจำนวน 1 ด้าน ได้แก่
6.1.1 ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการจัดทำคู่มือพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารในการมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มความสำเร็จของงาน
6.2 แนวทางพัฒนา สมรรถนะประจำสายงาน มี 2 ด้าน ได้แก่
6.2.1 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ด้วยวิธีการที่หลากหลายและมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุน ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของหน่วยงาน
6.2.2 การมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารโรงเรียนควรเป็นผู้นำในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจกว้างไกล และครอบคลุมทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
The purposes of this research were to: 1) examine administrators’ competency affecting school effectiveness under the Office of Secondary Educational Service Area 20; 2) compare administrators’ competency and school effectiveness; 3) examine the relationship; 4) find out the predictive power, and 5) established the guidelines. The samples were a total of 355 people, including 63 school administrators and 292 teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 20 in the 2017 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning administrators’ competency and school effectiveness, with the value of the discriminative power ranged from .25 to .93 and a reliability of .98. When considering each aspect, the administrators’ competency had a discriminative power of .25 to 96, with a reliability of .97, whereas school effectiveness ranging from .25 to .93 with a reliability of .95. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t–test (Independent Samples), F–test (One–Way ANOVA), Pearson Product-Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The administrators’ competency and school effectiveness as a whole and each aspect were at a high level.
2. The administrators’ competency, as perceived by administrators and teachers with different position, school sizes, and work experience as a whole was different at a statistical significance of the .01 level.
3. The school effectiveness, as perceived by school administrators and teachers with different position, school sizes, and work experience as a whole was different at a statistical significance of the .01 level.
4. The relationship between administrators’ competency affecting school effectiveness, as perceived by administrators and teachers as a whole had a positive relationship at the statistical significance of the .01 level.
5. The administrators’ competence comprised three aspects: personnel development (x23), having vision (x24), achievement motivation (x11). They were able to predict the school effectiveness at a statistical significance of the .01 level.
The equation could be summarized in raw scores as follows;
Y’ = 0.885 + 0.508 X23 + 0.333 X24 + 0.105X11
And the predictive equation standardized scores were;
Z’ = 0.567ZX23 + 0.329ZX24 + 0.106ZX11
6. The guidelines for developing school administrators affecting school effectiveness involved:
6.1 Core Competency Development comprising one aspect:
6.1.1 Achievement Motivation. School administrators should develop a handbook for developing administrators’ core competency emphasizing achievement motivation. The innovative practices should be employed to achieve success.
6.2 Functional Competency Development comprising two aspects:
6.2.1 Personnel Development. School administrators should encourage self-development through a variety of methods and programs. The implementation of supervision, monitoring, follow-up, encouragement and support for personnel development should also put in place.
6.2.2 Having vision. School administrators should be leaders inKeywords : Competency of School Administrators, School Effectiveness setting vision and mission covering directions for developing quality education through the participation process of all parties.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 92.71 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 725.34 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 59.40 KB |
4 | บทคัดย่อ | 283.00 KB |
5 | สารบัญ | 210.34 KB |
6 | บทที่ 1 | 281.49 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,109.02 KB |
8 | บทที่ 3 | 288.61 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,033.60 KB |
10 | บทที่ 5 | 315.62 KB |
11 | บรรณานุกรม | 242.68 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 139.77 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 276.74 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 740.08 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 1,579.44 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 101.36 KB |