สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหารและการนิเทศภายในของโรงเรียน 2) เปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหารและการนิเทศภายในของโรงเรียนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารและการนิเทศภายในของโรงเรียน 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนและ 5) หาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 335 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 90 คน และครูผู้สอน จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน และการนิเทศภายในของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. การนิเทศภายในของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. การนิเทศภายในของโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนกับการนิเทศภายในของโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำนวน 5 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์การนิเทศภายในของโรงเรียนได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ด้านการติดต่อสื่อสาร (X4) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ (X3) และด้านการจูงใจ (X2) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างองค์การ (X5) และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (X6) สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = 0.819 + 0.363 X4 + 0.206 X3 + 0.104 X5 + 0.047 X2+ 0.089 X6 และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z’ = 0.450 ZX4 + 0.221 ZX3 + 0.145 ZX5 + 0.091 ZX2 + 0.130 ZX6
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีจำนวน 6 ด้าน ที่ต้องได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำ (X1) ด้านการจูงใจ (X2) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร (X3) ด้านการติดต่อสื่อสาร (X4) ด้านโครงสร้างองค์การ (X5) และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (X6)
The purposes of this research were to: 1) examine the level of administrative factors and internal school supervision; 2) compare administrative factors and internal school supervision, classified by different work position, school sizes, and work experience; 3) investigate the relationship between administrative factors and internal school supervision; 4) find out the predictive power of administrative factors affecting internal school supervision; and 5) establish the guidelines for developing administrative factors affecting internal school supervision. The samples consisted of a total of 335 participants, including 90 administrators and 245 teachers in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3 in the 2017 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning school administrative factors and internal school supervision. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA), Pearson Product - Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The school administrative factors as a whole and each aspect were at a high level.
2. The internal school supervision as a whole and each aspect were at a high level.
3. The school administrative factors, classified by position as a whole were significantly different at the .05 level. In terms of school sizes, it was found different at a statistical significance of .01 level in overall, except working at different sized schools showed no difference.
4. The internal school supervision, classified by position as a whole was different at a statistical significance of .01 level. However, school sizes and work experience, as a whole showed no difference.
5. School administrative factors and internal school supervision as a whole had a positive relationship at a high level at a statistical significance of .01 level.
6. School administrative factors comprised five aspects. Three aspects were able to predict internal school supervision at a statistical significance of .01 level. The said factors were: communication (X4), school atmosphere and culture (X3), and motivation (X2). The two aspects which were found reaching a statistical significance of .05 level comprised organizational structure (X5) and information technology (X6) The equation could be summarized in raw scores as follows; Y’ = 0.819 + 0.363 X4 + 0.206 X3 + 0.104 X5 + 0.047 X2 + 0.089 X6. The predictive equation standardized scores were Z’ = 0.450 ZX4 + 0.221 ZX3 + 0.145 ZX5 + 0.091 ZX2 + 0.130 ZX6
7. The guidelines for developing administrative factors affecting internal supervision of schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area involved six aspects: leadership (X1), motivation (X2), atmosphere and organizational culture (X3), communication (X4), organization structure (X5) and information technology and communication (X6).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 100.74 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 68.91 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 68.42 KB |
4 | บทคัดย่อ | 89.04 KB |
5 | สารบัญ | 179.31 KB |
6 | บทที่ 1 | 238.93 KB |
7 | บทที่ 2 | 650.26 KB |
8 | บทที่ 3 | 394.29 KB |
9 | บทที่ 4 | 929.17 KB |
10 | บทที่ 5 | 370.70 KB |
11 | บรรณานุกรม | 157.55 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 101.84 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 302.21 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 252.85 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 183.00 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 92.17 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 143.41 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 90.82 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 612.54 KB |
20 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 78.51 KB |