ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Administrative Factors Affecting Learning Effectiveness Based on the 21st Century Skills of Students in Schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2
ผู้จัดทำ
ธีรพงศ์ อุปทุม รหัส 60421229114 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ, ดร.ชรินดา พิมพบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัย เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และอำนาจพยากรณ์ ของปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน และหาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson’s Produce Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการบริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยการบริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมและทุกด้านไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ปัจจัยการบริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

6. ประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

7. ปัจจัยการบริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

8. ประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

9. ปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

10. ปัจจัยการบริหารโรงเรียน มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการเรียนรู้ ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

11. ในการวิจัยครั้งนี้ ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านผู้บริหารโรงเรียน 2) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ 4) ด้านครูผู้สอน 5) ด้านงบประมาณ

Abstract

This study aimed at studying the factor levels, comparing, finding the relationship and the predictive power of the administrative factors affecting learning effectiveness based on the 21st century skills of students in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 as perceived by school administrators and teachers with different positions, work experiences and school sizes, as well as establishing guidelines for developing administrative factors affecting learning effectiveness based on the 21st century skills of students.  The sampling group of the study comprised 324 participants, including school administrators and teachers working under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 in the 2018 academic year. The research instrument was a questionnaire with rating scales. The statistics for data analysis included mean, frequency, standard deviation, independent samples t-test, One-way ANOVA, Pearson’s Produce Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression. 

The findings were as follows:

1. The administrative factors in schools as perceived by school administrators and teachers as a whole were at a high level.

2. The learning effectiveness based on the 21st century skills of students as perceived by school administrators and teachers as a whole was at a high level.

3. The administrative factors in the schools as perceived by school administrators and teachers with different positions as a whole and for each aspect were not different.

4. The learning effectiveness based on the 21st century skills of students as perceived by school administrators and teachers with different positions as a whole was not different.  

5. The administrative factors in schools as perceived by school administrators and teachers with different work experiences as a whole were not different.

6. The learning effectiveness based on the 21st century skills of students as perceived by school administrators and teachers with different work experiences as a whole was not different.  

7. The administrative factors in schools as perceived by school administrators and teachers from different school sizes as a whole were not different.

8. The learning effectiveness based on the 21st century skills of students as perceived by school administrators and teachers from different school sizes as a whole were not different.

9. The administrative factors and the learning effectiveness based on the 21st century skills of students showed a positive relationship at the level of statistical significance 0.01.

10. The school administrative factors had the predictive power toward the learning effectiveness based on the 21st century skills of students as a whole at a statistical significance of 0.01 level.

11. In this study, the guidelines for developing administrative factors affecting learning effectiveness based on the 21st century skills of students were proposed in five aspects as following: 1) school directors, 2) community participation, 3) learning resources, 4) teachers, and 5) budget.

คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร, ประสิทธิผลการเรียนรู้ตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
Keywords
Administrative Factors, Learning Effectiveness Based on the 21st Century Skills
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 79.64 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 606.07 KB
3 ประกาศคุณูปการ 134.46 KB
4 บทคัดย่อ 206.37 KB
5 สารบัญ 322.36 KB
6 บทที่ 1 367.75 KB
7 บทที่ 2 1,068.23 KB
8 บทที่ 3 458.48 KB
9 บทที่ 4 1,431.90 KB
10 บทที่ 5 522.88 KB
11 บรรณานุกรม 307.47 KB
12 ภาคผนวก ก 207.53 KB
13 ภาคผนวก ข 1,590.52 KB
14 ภาคผนวก ค 408.99 KB
15 ภาคผนวก ง 389.71 KB
16 ภาคผนวก จ 220.01 KB
17 ภาคผนวก ฉ 215.83 KB
18 ประวัติย่อของผู้วิจัย 101.69 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 มิถุนายน 2562 - 16:17:09
View 1435 ครั้ง


^