ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สภาพ ปัญหา และผลสำเร็จในการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Conditions, Problems and Operational Success of Community-School Relationship of Secondary Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21
ผู้จัดทำ
กิตติยา วงชาชม รหัส 60421229121 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ, ดร.ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับ สภาพ ปัญหา และผลสำเร็จในการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21  ตามความคิดเห็นของประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายบริหารงานทั่วไปหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานทั่วไป และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน337 คน ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 56 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 56 คน รองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายบริหารงานทั่วไปหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานทั่วไปจำนวนรวม 56 คนและครูผู้สอน จำนวน 169 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประเมินค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบ แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ปัญหาการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย

3. ผลสำเร็จการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

4. ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารฯฝ่ายบริหารงานทั่วไปหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานทั่วไปและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน ประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพในการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

5. ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารฯฝ่ายบริหารงานทั่วไปหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานทั่วไปและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

6. ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารฯฝ่ายบริหารงานทั่วไปหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานทั่วไปและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลสำเร็จในการดำเนินงานความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7. ในการวิจัยครั้งนี้ได้มีการนำเสนอแนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษาไว้ด้วย

Abstract

The purposes of this research were to: study and compare the opinions concerning operational conditions, problems and success of community-school relationship of secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, classified by position, work experience and school sizes. The total sample consisted of 337 participants, including: 56 chairmen of Basic Education Board, 56 school administrators, 56 deputy administrators or heads of general administration group, and 169 teachers in the secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21 in the 2018 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, and One – Way ANOVA.

The findings were as follows:

1. The operational conditions of community-school relationship of secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, as a whole and each aspect were at a high level.

2. The operational problems of community-school relationship of secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, as a whole and each aspect were at a low level.

3. The operational success of community-school relationship of secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21, as a whole and each aspect was at a high level.

4. The participants with different position, work experience and school sizes, as a whole and each aspect, showed no difference on their opinions toward operational conditions of community-school relationship.

5. The participants’ opinions toward operational problems of community-school relationship, classified by position, and school sizes, as a whole and each aspect showed no difference, whereas the opinions of participants with different work experience, as a whole were different at the .05 statistical significance level.

6. The participants’ opinions toward operational success of community-school relationship, classified by position, and school sizes, as a whole and each aspect showed no difference, whereas the opinions of participants with different work experience, as a whole were different at the .01 statistical significance level.

7. This research also proposed the guidelines for developing community-school relationship for secondary schools.

คำสำคัญ
ผลสำเร็จในการดำเนินงาน, ความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน
Keywords
Operational Success, Community-School Relationship
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 89.42 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 384.90 KB
3 ประกาศคุณูปการ 78.49 KB
4 บทคัดย่อ 127.82 KB
5 สารบัญ 237.45 KB
6 บทที่ 1 285.30 KB
7 บทที่ 2 709.07 KB
8 บทที่ 3 439.63 KB
9 บทที่ 4 1,118.92 KB
10 บทที่ 5 525.60 KB
11 บรรณานุกรม 241.47 KB
12 ภาคผนวก ก 150.61 KB
13 ภาคผนวก ข 337.57 KB
14 ภาคผนวก ค 347.11 KB
15 ภาคผนวก ง 341.34 KB
16 ภาคผนวก จ 208.20 KB
17 ภาคผนวก ฉ 203.88 KB
18 ภาคผนวก ช 196.48 KB
19 ประวัติย่อของผู้วิจัย 89.48 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 มีนาคม 2563 - 11:30:06
View 580 ครั้ง


^