ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Leadership of Administrators Affecting Success in Educational Quality Assurance of Savannakhet Teacher Training College, the Lao People's Democratic Republic
ผู้จัดทำ
บุนยะสิด ยดทิวงสา รหัส 60421229148 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร.วรกัญญาพิไล แกระหัน
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารและผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษา ของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี ค.ศ. 2019 จำนวน 169 คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร 77 คน อาจารย์ 92 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหาร อยู่ระหว่าง 0.530-0.892 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986 และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษา อยู่ระหว่าง 0.509-0.892 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.973 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Independent Samples) ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า 

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. ผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษา ของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง เพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน

4. ผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษา ของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความสัมพันธ์กันทางบวก

6. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ที่มีอำนาจพยากรณ์ผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษา ของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมและรายด้าน พบว่า ตัวแปรภาวะผู้นำของผู้บริหาร จำนวน 7 ด้าน สามารถพยากรณ์ผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยรวมตัวแปรทั้ง 7 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ร้อยละ 90.5 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานการพยากรณ์ (SE.est) เท่ากับ 0.115

7. การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใน 7 ด้าน คือ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ 2) ด้านการมุ่งเน้นผลสำเร็จ 3) ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจ 4) ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม 5) ด้านความมีบารมี 6) ด้านการดลใจและ 7) ด้านการมุ่งหาความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล

Abstract

The purposes of this research were to study, compare, find out the relationship and the predictive power between administrators’ leadership and the success of educational quality assurance of Savannakhet Teacher Training College (SKTTC), the Lao People's Democratic Republic (LPDR), and to establish the guidelines for leadership development of administrators at the Savannakhet Teachers College in the LPDR. The sample, obtained through stratified random sampling, was made up of 169 participants, including 77 administrators and 92 teachers working at SKTTC in the LPDR in the academic year 2019. The the Krejcie and Morgan was also employed for the sample size determination. The tool for data collection comprised a set of 5-rating scale questionnaires. The discriminative power of the questionnaire concerning administrators’ leadership was ranged from 0.530 to 0.892 with the reliability of 0.98. The discriminative power of the educational quality assurance was ranged from 0.509 to 0.892 with the reliability of of 0.973. The statistics for data collection were percentage, mean, standard deviation, hypothesis testing with t-test for independent samples, One-Way ANOVA, Pearson's product moment correlation, and stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The leadership of administrators of SKTTC in the LPD as a whole and individual aspect was found at a high level.

2. The success of educational quality assurance of SKTTC in the LPDR as a whole and individual aspect was found at a high level.

3. The leadership of administrators of SKTTC in the LPDR classified by position, gender, education level and work experience as a whole and individual aspect was not different.

4. The success of the educational quality assurance of SKTTC in the LPDR classified by position as a whole found significantly different at the .05 level, In terms of gender, education level and work experience, there were not different in overall.

5. The leadership of administrators and the success of educational quality assurance of SKTTC showed positive relationship.

6. The leadership of administrators had the predictive power toward the success of educational quality assurance of SKTTC as a whole and individual aspect. The seven variables of administrators’ leadership were able to predict the success of the educational quality assurance at a statistical significance of .01 level. The seven variables as a whole were able to explain the variance of the success of the educational quality assurance with the percentage of 90.5 and the standard error of prediction (SE.est) of 0.115.

7. The researcher also proposed the guidelines for developing the leadership of administrators affecting success in educational quality assurance of SKTTC in the LPDR consisting of seven aspects: 1) visionary, 2) success -oriented focus, 3) motivation enhancement, 4) promotion of participation, 5) charisma, 6) inspiration, and 7) individual-focused relationship.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำผู้บริหาร, การประกันคุณภาพการศึกษา
Keywords
Leadership of Administrators, Educational Quality Assurance
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 114.26 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 1,827.86 KB
3 ประกาศคุณูปการ 62.17 KB
4 บทคัดย่อ 143.79 KB
5 สารบัญ 252.31 KB
6 บทที่ 1 337.10 KB
7 บทที่ 2 1,805.82 KB
8 บทที่ 3 364.41 KB
9 บทที่ 4 1,618.71 KB
10 บทที่ 5 396.21 KB
11 บรรณานุกรม 309.64 KB
12 ภาคผนวก ก 144.07 KB
13 ภาคผนวก ข 7,187.09 KB
14 ภาคผนวก ค 401.96 KB
15 ภาคผนวก ง 433.47 KB
16 ภาคผนวก จ 311.78 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 111.83 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 มกราคม 2563 - 10:14:36
View 763 ครั้ง


^