ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Model for Developing Leadership of Physical Education Teachers at Primary Schools under the Office of Primary Educational Service Area
ผู้จัดทำ
อดิศักดิ์ นวลสิงห์ รหัส 533H97112 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา คัมภีรปกรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและลักษณะภาวะผู้นำครูพลศึกษา 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูพลศึกษา 3) ประเมินรูปแบบภาวะผู้นำ ครูพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้น โดยการทดลองใช้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและองค์ประกอบภาวะผู้นำครูพลศึกษา มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ  และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาสำรวจโดยการตอบแบบสอบถามจากครูผู้สอนพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 680 คน ระยะที่ 2 การออกแบบและปรับปรุงรูปแบบ การพัฒนา ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบโดยการทดลองใช้ภาคสนาม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการพัฒนา ชุดพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   

ผลการวิจัยพบว่า

1.  องค์ประกอบภาวะผู้นำครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 องค์ประกอบ ดังนี้  1) บุคลิกภาพ 2) คุณธรรมจริยธรรม 3) ความรู้ ความสามารถ 4) การพัฒนาตนเอง  วิธีการพัฒนามีวิธี ดังนี้ ได้จากการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบ และสำรวจความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของครูพลศึกษาจากการสำรวจครูผู้สอนพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีส่วนประกอบดังนี้คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการพัฒนา ชุดพัฒนา การติดตามและประเมินผล  แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) การปฐมนิเทศและการประเมินตนเอง 2) การฝึกอบรมพัฒนา  โดยยึดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ใช้เวลาในการพัฒนา จำนวน 2 วัน 3) การฝึกปฏิบัติการและ 4) การกำกับ ติดตามและประเมินผล ชุดการพัฒนาภาวะผู้นำครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา มี 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 บุคลิกภาพของผู้นำครูพลศึกษา ชุดที่ 2 คุณธรรม จริยธรรมของผู้นำครูพลศึกษา ชุดที่ 3 ความรู้ ความสามารถของครูพลศึกษาและชุดที่ 4 การพัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพครูพลศึกษา ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วย  1) วัตถุประสงค์ 2) เนื้อหา 3) วิธีการพัฒนา 4) สื่อและแหล่งเรียนรู้เอกสารอ้างอิง และ 5) กิจกรรมการพัฒนาและการติดตามและประเมินผล หลังการพัฒนา 2 สัปดาห์

3.  ผลของการประเมินรูปแบบ มี 2 ส่วน ความเหมาะสมของรูปแบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

3.1  ความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและรายองค์ประกอบ พบว่า  หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด ชุดการพัฒนาในแต่ละองค์ประกอบ และการติดตามและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ

3.2  ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า ผู้ที่เข้ารับการพัฒนาภาวะผู้นำตามรูปแบบมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามองค์ประกอบภาวะผู้นำทั้ง 4 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยหรือในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านทุกองค์ประกอบมากที่สุด โดยมีผลการพัฒนาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 2.66 ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ  91.84

3.3  ความคงทนของภาวะผู้นำครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมระยะติดตามกับพฤติกรรมหลังการทดลอง โดยการติดตามหลัง 2 สัปดาห์  พบว่า  ค่าเฉลี่ยในภาพรวมเพิ่มขึ้นจาก 4.77 เป็น  4.90 เพิ่มขึ้น 0.14 หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 51.93

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine the components and characteristics of leadership of physical education teachers at primary schools under the Office of Primary Educational Service Area in the Northeast region; 2) construct and develop a model for developing leadership of physical education teachers; 3) validate the proposed model. The four phases of the Research and Development approach were employed: Phase I was related to conceptual framework, and leadership components of physical education teachers. This phase involved three stages: Stage I document inquiries, Stage II experts’ reviews, and Stage III administration of a survey questionnaires for 680 physical education teachers at primary schools under the Office of Primary Educational Service Area in the Northeast region. Phase II was related to a model design and refinement; and Phase II involved a model implementation and conclusion. The data analysis was performed using mean, and standard deviation.

The findings were as follows: 

1. The leadership of physical education teachers at primary schools under the Office of Primary Educational Service Area in the Northeast region compised of ( involved) four components: 1) personality, 2) moral and ethics, 3) knowledge and competency, 4) self-development for professions of physical education teachers. In addition, developing leadership of physical education teachers at primary schools were done through seven methods: 1) a training workshop, 2) monitoring and evaluation,   3) implementation of training packages for physical education leadership development, 4) practice in actual setting, 5) workshop participation, 6) knowledge sharing, and  7) having a model for physical education teachers’ development.

2. The developed model consisted of principles, objectives, and development process involving four stages: 1) orientation and self-assessment,  2) a two-day training workshop based on adult learning, 3) practice in actual setting, and 4) monitoring and evaluation. The four volumes of packages for developing leadership of physical education teachers at primary schools comprised 1) objectives, 2) contents, 3) methods, 4) media and learning resources, and references, and 5) development activities, and monitoring and evaluation. The monitoring period was carried out within two weeks after the model implementation.

3. The effectiveness of the developed model was detailed as follows:

3.1 The appropriateness of the developed model, as a whole, was at 

the highest level. Each component in terms of principles, objectives, development process was at the highest level.  All components of the development packages, and the monitoring and evaluation were at the highest level.

3.2 The developed model had the suitability, as a whole, at the highest level (X̅=4.77). When considering in each component, all components of leadership behaviors of physical education teachers were at the highest level. The percentage point progress was 91.84 with the mean differences at +2.66.

3.3 The retention of leadership behaviors of physical education teachers at primary schools, when comparing at the monitoring periods and after the model implementation, showed the percentage point progress of 51.93 with the mean differences at +0.14.

คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนา, ภาวะผู้นำของครูพลศึกษา
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 97.62 KB
2 ประกาศคุณูปการ 67.69 KB
3 บทคัดย่อ 112.20 KB
4 สารบัญ 121.34 KB
5 บทที่ 1 183.17 KB
6 บทที่ 2 983.67 KB
7 บทที่ 3 204.86 KB
8 บทที่ 4 592.92 KB
9 บทที่ 5 327.91 KB
10 บรรณานุกรม 148.65 KB
11 ภาคผนวก ก 319.30 KB
12 ภาคผนวก ข 2,289.38 KB
13 ภาคผนวก ค 1,000.44 KB
14 ภาคผนวก ง 1,170.39 KB
15 ประวัติย่อของผู้วิจัย 79.95 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 มกราคม 2561 - 11:41:37
View 1330 ครั้ง


^