ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Development of a Training Curriculum to Enhance Authentic Learning Management Competencies for Primary Teachers under Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1
ผู้จัดทำ
วีระยุทธ ก้อนกั้น รหัส 533JCe203 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ดร. สมพร หลิมเจริญ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา 2) สร้างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 3) การนำหลักสูตรไปฝึกอบรมครู 4) การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบ 2) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม 3) แบบประเมินตนเอง และ 4) แบบประเมินชิ้นงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t–test) วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 

ผลการวิจัย พบว่า

1.  สมรรถนะทุกสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ในระดับมากและมากที่สุด ประกอบด้วย 15 สมรรถนะ 28 ตัวบ่งชี้สมรรถนะ ดังนี้

1.1  สมรรถนะด้านความรู้ จำนวน 6 สมรรถนะ 9 ตัวบ่งชี้สมรรถนะ

1.2  สมรรถนะด้านทักษะ จำนวน 5 สมรรถนะ 11 ตัวบ่งชี้สมรรถนะ

1.3  สมรรถนะด้านคุณลักษณะ จำนวน 4 สมรรถนะ 8 ตัวบ่งชี้สมรรถนะ

2.  หลักสูตรฝึกอบรมมี 9 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) สมรรถนะสำคัญ 5) โครงสร้างของหลักสูตร 6) เนื้อหาของหลักสูตร 7) กิจกรรมการฝึกอบรม 8) สื่ออุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ และ 9) การวัดและประเมินผล  

3.  ผลการนำหลักสูตรไปฝึกอบรมครู พบว่า

3.1  สมรรถนะด้านความรู้ หลังการฝึกอบรมตามหลักสูตร สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.2  สมรรถนะด้านทักษะ หลังการฝึกอบรมตามหลักสูตร สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.3  สมรรถนะด้านคุณลักษณะ หลังการฝึกอบรมตามหลักสูตร สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.4  ความพึงพอใจของครูต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก (X̅=4.49) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.51 

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate primary teachers’ authentic learning management competencies, 2) to create a training curriculum for enhancing authentic learning management competencies among primary teachers, and 3) to examine results of implementing the training curriculum for enhancing authentic learning management competencies among primary teachers. The study process comprised 4 steps: 1) investigate basic data, 2) create a training curriculum, 3) implement the curriculum to train teachers, and 4) assess the training curriculum.      A sample used in study as selected by purposive sampling was 20 teachers who taught 4th to 6th year primary students in the second semester of academic year 2015. The instruments used in data collection included: 1) a test, 2) a form for recording the observed behavior, 3) a form for self-assessment, and 4) a form for assessing pieces of work. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation and t-test. Both quantitative and qualitative data were analyzed. 

The findings of study disclosed as follows:

1. Every developed competency was appropriate and feasible at high and highest levels. It was composed of 15 competencies, 28 competency indicators as follows:

1.1 6  knowledge competencies and 9 competency indicators,

1.2 5  skill competencies and 11 competency indicators,

1.3 4  attribute competencies and 8 competency indicators.

2. The training curriculum comprises 9 components: 1) background of the curriculum, 2) principles of the curriculum, 3) goals of the curriculum, 4) key competencies, 5) curriculum structure, 6) curriculum content, 7) training activities, 8) media, equipment and learning sources, and 9) measurement and evaluation.

3. Results of implementing the curriculum to train teachers were as follows:

3.1 The knowledge competency after training according to the curriculum was significantly higher than that before training at the .01 level.

3.2 The skill competency after training according to the curriculum was significantly higher than that before training at the .01 level.

3.3 The attribute competency after training according to the curriculum was significantly higher than that before training at the .01 level. 

3.4 Teachers’ satisfaction with implementation of the training curriculum was at high and highest levels and was higher than the criterion set at the mean score of 3.51.

คำสำคัญ
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, สมรรถนะ, การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 147.12 KB
2 ประกาศคุณูปการ 82.55 KB
3 บทคัดย่อ 102.26 KB
4 สารบัญ 194.28 KB
5 บทที่ 1 181.47 KB
6 บทที่ 2 989.92 KB
7 บทที่ 3 202.58 KB
8 บทที่ 4 340.24 KB
9 บทที่ 5 195.99 KB
10 บรรณานุกรม 275.19 KB
11 ไม่ระบุประเภทไฟล์ 3,967.45 KB
12 ประวัติย่อของผู้วิจัย 238.08 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 ธันวาคม 2560 - 09:44:33
View 1725 ครั้ง


^