สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการที่จะพัฒนาความรู้ 2) ศึกษาความต้องการวิธีการพัฒนาความรู้ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการที่จะรับการพัฒนาความรู้และวิธีการพัฒนาบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 443 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ระยะที่ 3 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ โดยการจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ ระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องครอบคลุม
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการของบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับความรู้ที่ต้องการพัฒนา อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบทบาทหน้าที่ของชุมชนต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ด้านความรู้เกี่ยวกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ความต้องการของบุคลากรที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาความรู้ มีความต้องการอยู่ในระดับมาก 4 วิธี คือ 1) การศึกษาดูงาน 2) การฝึกอบรม 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 4) การมอบหมายโครงการ
3. รูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการพัฒนาบุคลากร 2) วัตถุประสงค์การพัฒนาบุคลากร 3) ขอบข่ายการพัฒนาบุคลากร 4) แนวทางการพัฒนาบุคลากร และ 5) การประเมินผลการพัฒนาบุคลากร
4. การประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้องครอบคลุมมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับตามเกณฑ์ในระดับมาก
The purposes of this research were to: 1) examine the needs for developing knowledge, 2) explore the needs for knowledge development methods, 3) construct a model for personnel development in order to enhance the efficiency of community participation in terms of basic education management, and 4) evaluate the efficiency of the developed model. The research was divided into four phases: Phase I was related to examining the needs for developing knowledge and personnel development methods. The samples were 443 school committee, and representatives of Local Administrative Organizations. The tool used in data collection was a questionnaire. Phase II was related to construction of the personnel development model to enhance the efficiency of community participation in basic education management, and investigation of the appropriateness and the feasibility of the drafted model through the interviews of five experts. The research tool was a semi-structured interview form. Phrase III was related to the examination of the appropriateness and feasibility of the drafted model through a meeting of 15 experts. An evaluation form was employed. Phase IV was related to evaluating the efficiency of the developed model. The samples were 216 of school administrators and representatives of Local Administrative Organizations. The tool used was a questionnaire on opinions toward the developed model in terms of benefits, feasibility, appropriateness, and accuracy.
The results were as follows:
1. The needs of personnel participating in basic education management on what knowledge was needed were at a high level. The knowledge needed involved three aspects: 1) roles and duties of the community toward basic education management, 2) knowledge about basic education management, and 3) participation on basic education management.
2. The needs of personnel in terms of methods of knowledge development were at a high level, comprised four methods: 1) best practice visits, 2) training, 3) workshops, and 4) project assignment.
3. The component of the model for personnel development to enhance the efficiency of community participation in basic education management involved five components: 1) principles, 2) objectives, 3) content scopes, 4) guidelines, and 5) evaluation.
4. The results from the model evaluation revealed that the benefits, feasibility, appropriateness, and accuracy were adequately covered. In addition, the model had a high level of quality criteria.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 62.36 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 32.23 KB |
3 | บทคัดย่อ | 55.13 KB |
4 | สารบัญ | 77.24 KB |
5 | บทที่ 1 | 127.00 KB |
6 | บทที่ 2 | 678.76 KB |
7 | บทที่ 3 | 164.91 KB |
8 | บทที่ 4 | 501.70 KB |
9 | บทที่ 5 | 285.15 KB |
10 | บรรณานุกรม | 137.57 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 14,118.50 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 58.63 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 1,166.31 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 91.10 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 8,657.85 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 1,157.69 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 34.17 KB |