สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหา 2) หาแนวทางพัฒนา 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านเซียงเซา ใช้กระบวนการ วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติการ (Action) ขั้นการสังเกตการณ์ (Observation) ขั้นการสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้วิจัย และนักเรียน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 19 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบนิเทศ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาการพัฒนาศักยภาพครูในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านเซียงเซา มีดังนี้
1.1 สภาพ พบว่า บุคลากรที่รับผิดชอบงาน มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ แต่ไม่มั่นใจในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
1.2 ปัญหา พบว่า บุคลากรยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดำเนินงาน การวางระบบการพัฒนางานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ไม่มีบุคลากรด้านสาธารณสุขในชุมชน ขาดงบประมาณในการจัดสภาพแวดล้อมให้สวยงาม ร่มรื่น ขาดการประชาสัมพันธ์ ขาดการส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนปลอดอบายมุขและสิ่งเสพติด
2. แนวทางพัฒนาศักยภาพครูในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ วงรอบที่ 1 ใช้แนวทาง คือ 1) การศึกษาดูงาน 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การจัดกิจกรรมการพัฒนางานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ คือ 1) กิจกรรมที่ 1 การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ 2) กิจกรรมที่ 2 การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ 3) กิจกรรมที่ 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งบทบาทของชุมชน 4) กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาทักษะบุคคล
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
3.1 ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จาก 4 กิจกรรมหลัก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.39)
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาศักยภาพครูในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยครู ก่อนการพัฒนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และหลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีค่าเฉลี่ยร้อยละความก้าวหน้าโดยรวม เท่ากับ 23.81 และในวงรอบที่ 2 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับความก้าวหน้าโดยรวมเท่ากับ 81.25 นอกจากนั้นยังพบว่า ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี มีการนำความรู้ที่ได้รับจัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ
3.3 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนางานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยนักเรียน ก่อนการพัฒนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และหลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีค่าเฉลี่ยร้อยละความ ก้าวหน้าโดยรวม เท่ากับ 42.28 และในวงรอบที่ 2 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับความก้าวหน้าโดยรวมเท่ากับ 64.33 นอกจากนั้นยังพบว่า ครูและบุคลากรในโรงเรียนเห็นความสำคัญของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 63.15 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 42.46 KB |
3 | บทคัดย่อ | 59.74 KB |
4 | สารบัญ | 139.06 KB |
5 | บทที่ 1 | 168.53 KB |
6 | บทที่ 2 | 862.05 KB |
7 | บทที่ 3 | 321.97 KB |
8 | บทที่ 4 | 917.75 KB |
9 | บทที่ 5 | 237.96 KB |
10 | บรรณานุกรม | 121.58 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 120.10 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 932.23 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 49.64 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 117.05 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 104.41 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 894.22 KB |
17 | ภาคผนวก ช | 98.54 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 65.31 KB |