ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Model for Developing Instructional Leadership of Administrators in Buddhist Scripture Schools under General Education Division in the Northeast
ผู้จัดทำ
ประสิทธิ์ อุ่นหนองกุง รหัส 543H97107 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์.ดร.ปรีชา คัมภีรปกรณ์, ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2)สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนา ภาวะผู้นำ ทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2556 สังกัดกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม กลุ่มที่ 7–11 จำนวน 134 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) คู่มือการใช้รูปแบบ และเอกสารประกอบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร เรื่องรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 13  องค์ประกอบย่อย และ 60 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจการเรียนรู้  มี 10 ตัวบ่งชี้  2) การบริหารหลักสูตรและการสอน มี 13 ตัวบ่งชี้ 3) การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ มี 13 ตัวบ่งชี้  4) การพัฒนาบุคลากร มี 12  ตัวบ่งชี้ และ 5) การพัฒนาผู้เรียน มี 12 ตัวบ่งชี้

2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เอกสารประกอบ การพัฒนา  4) กระบวนการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล

3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน มีความก้าวหน้าในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 69.28 รูปแบบการพัฒนา มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.68)

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the components of instructional leadership of administrators in Buddhist Scripture Schools under General Education Division in the Northeast, 2) establish a model for developing instructional leadership of administrators in Buddhist Scripture Schools under General Education Division  in the Northeast, and 3) evaluate the developed model. The samples, obtained through multi-stage Random sampling technique, were 134 administrators of Buddhist Scripture Schools under General Education Division Groups 7 to 11 in the Northeast, in the academic year 2013. The research tools consisted of 1) A handbook for model application and documents containing relevant materials on instructional leadership development of administrators, and 2) questionnaires examining the components of instructional leadership. The statistical analysis involved percentage, mean, and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The components of instructional leadership of administrators of Buddhist Scripture Schools under General Education Division in the Northeast involved five key components with 13 sub-components and 60 indicators as follows: 1) ten indicators of vision, goal and mission of learning, 2) 13 indicators of curriculum and Instruction administration, 3) 13 indicators of learning atmosphere promotion, 4) 12 indicators of personnel development, and 5) 12 indicators of learners’ development.

2. The effects after the model establishment and development revealed that the developed model consisted of: 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) processes, and 5) measurement and evaluation. 

3. The effects after the model implementation revealed that the administrators of Buddhist Scripture Schools under General Education Division in the Northeast progressed in terms of instructional leadership at a percentage of 69.28. The developed model was appropriate, as a whole, at the highest level (X̅= 4.68).

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร, การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ, โรงเรียนพระปริยัติธรรม
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 180.31 KB
2 ประกาศคุณูปการ 41.49 KB
3 บทคัดย่อ 108.42 KB
4 สารบัญ 92.78 KB
5 บทที่ 1 173.43 KB
6 บทที่ 2 1,253.61 KB
7 บทที่ 3 303.25 KB
8 บทที่ 4 754.98 KB
9 บทที่ 5 213.37 KB
10 บรรณานุกรม 178.33 KB
11 ภาคผนวก ก 77.11 KB
12 ภาคผนวก ข 141.74 KB
13 ภาคผนวก ค 442.05 KB
14 ประวัติย่อของผู้วิจัย 52.61 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 มกราคม 2561 - 09:59:39
View 1488 ครั้ง


^