ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองและความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในโรงพยาบาลสกลนคร
A Study of the Relationship between Readiness in Self- Learning and Ability in Self-Health Care of the Malignancy Patients at Sakon Nakhon Hospital
ผู้จัดทำ
จินดารัตน์ ชัยโพธิ์คำ รหัส 55421231139 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์, ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมในการเรียนรู้ ด้วยตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็ง 2) ศึกษาระดับความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง 3) เปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยแยกตามเพศ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองกับความสามารถ ในการดูแลสุขภาพตนเอง และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองกับความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในโรงพยาบาลสกลนคร จานวน 99 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling) ในช่วงวันที่ 15 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2559 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ใช้Independent sample t-test ทดสอบความแตกต่างของความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองระหว่างเพศชายและเพศหญิง ใช้ one-way ANOVA ในการเปรียบเทียบระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ต่างกันกับความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง และใช้ Pearson’s correlation coefficient ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองและความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วน 5 ระดับ เป็นเครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถามวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองมีค่าความเชื่อมั่นเป็น .847 และแบบสอบถามวัดความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองมีค่าความเชื่อมั่นเป็น .896

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงและเพศชายใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ย 53.34 ปี (19-87 ปี) สถานภาพสมรสร้อยละ 77.8 และระดับการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุดร้อยละ 63.60 เป็นผู้ป่วยมะเร็งโรคเลือดร้อยละ 61.70 และมะเร็งระบบอื่น ๆ ร้อยละ 38.30 ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองเท่ากับ3.84 คะแนน มีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 59.60 เมื่อแปลความหมายตามแนวคิดของ Guglielmino (1977, pp.61-69,อ้างถึงใน มรุต ก้องวิริยะไพศาล, 2549, หน้า 17-18) หมายถึงผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นผู้เรียนที่ชอบสถานการณ์การเรียนรู้ที่เป็นอิสระ แต่ไม่ถึงกับพอใจที่จะระบุ หรือวางแผนการเรียนและกระบวนการทั้งหมดด้วยตนเองเมื่อวิเคราะห์รายด้านพบว่าผู้ป่วยมีความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองรายด้านสูงถึงสูงมากทุกด้าน ส่วนความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 3.83 คะแนน ซึ่งมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูงร้อยละ 62.63 และมีความสามารถในการดูแลสุขภาพรายด้านสูงถึงสูงมากทุกด้าน ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิงเท่ากับ 3.79 และ 3.90 ตามลาดับ เม่อื นามาทดสอบด้วย Independent t-test แล้วพบว่าไม่แตกต่างกันผู้ป่วยที่มีระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ต่างกันจะมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p .000) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองสูงมาก จะมีความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองสูงกว่ากลุ่มที่มีระดับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองปานกลางและสูงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสาคัญ.05 เมื่อวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์พบว่าความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเอง (rxy.452, sig.001)

Abstract

The purposes of this study were:1) to investigate a degree of readiness in self-learning of the malignancy patients, 2) to examine a degree of ability in selfhealth care of the malignancy patients, 3) to compare readiness in self-learning among those classified by sex, 4) to compare a difference of readiness in self-learning and ability in self-health care, and 5) to inquire into the relationship between readiness in self-learning and ability in self-health care of the malignancy patients.

A sample of 99 malignancy patients in Sakon Nakhon Hospital was selected by accidental sampling during October 15, 2016 and December 15, 2016. Data analysis was conducted using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation for finding information of the sample’s basic data. T-test for independent samples was used to find a difference of self-learning readiness between males and females. One-way ANOVA was used to compare the degrees of readiness in self-learning and of ability in self-health care of the malignancy patients. The instrument used in study was a 5-rating scale questionnaire of which one part which asked for readiness in self-learning had a reliability coefficient of .847 and the other part which asked for ability in self-health care had a reliability coefficient of .896.

The findings of study revealed that the sample comprising males and females of a number which is approximate to each other had an average of 53.34 years of age (19-87), had a marital status of 77.8%; had a primary education attainment of 63.60%; comprised hematologic malignancy patients of 61.70% and other malignancy patients of 38.30%. Malignancy patients had a mean score of 3.84 in self-learning readiness. They had readiness in self-learning as a whole at high level which was equal to 59.60%. When being interpreted according to Guglielmino (1977, pp. 61-69, cited in Marut Kongviriyapaisan, 2006, pp.17-18), the malignancy patients were learners who preferred an independent learning situation but were not as for as being satisfied with specifying or planning all the learning and process by themselves. When each aspect was considered, the patients were found having readiness in each aspect of self-learning from high to the highest levels. As for the ability in self-health care, it was found that the malignancy patients gained a mean score of 3.83. It means that the overall self-health care was at high level or as high as 62.63%, whereas each aspect of the self-health care ability began at high up to the highest levels. The mean scores of males and females were equal to 3.79 and 3.90 respectively. By using  t-test for independent samples, both sexesreadiness was not found different.
Those patients who had a different degree of self-learning readiness had a significant difference in their abilities in self-health care (p.000). The patients who had the highest degree of readiness in self-learning would have a significantly higher ability  in self-health care than those who had a medium or high degree of readiness in self-learning at the .05 level. When the relationship was analyzed, it was found that readiness in self-learning had a positive relationship with ability in self-health care (rxy.452, sig.001).

คำสำคัญ
ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง, ความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองผู้ป่วยโรคมะเร็ง
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 69.28 KB
2 ประกาศคุณูปการ 58.17 KB
3 บทคัดย่อ 110.05 KB
4 สารบัญ 136.48 KB
5 บทที่ 1 372.78 KB
6 บทที่ 2 760.74 KB
7 บทที่ 3 701.09 KB
8 บทที่ 4 512.47 KB
9 บทที่ 5 160.30 KB
10 บรรณานุกรม 311.27 KB
11 ภาคผนวก ก 208.67 KB
12 ภาคผนวก ข 212.81 KB
13 ภาคผนวก ค 300.70 KB
14 ภาคผนวก ง 307.97 KB
15 ภาคผนวก จ 318.96 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 219.37 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
6 ธันวาคม 2560 - 14:23:15
View 610 ครั้ง


^