ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา กรณีศึกษา วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
Development of Information Technology System to Follow Up the Graduates’ Employment Status: A Case Study of Swang Daen Din Industrial and Community Education College
ผู้จัดทำ
จุลศักดิ์ ปัตโชติชัย รหัส 55425117102 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชา วิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.จำนง วงษ์ชาชม, ดร.ศรัญญา แซ่ตั้ง
บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของการติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนครโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 258 คน และบุคลากรหน่วยงานแนะแนวอาชีพและการจัดหางาน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 2 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการของการติดตามภาวะการมีงานทำ 2) แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องของการ 3) ระบบสารสนเทศเพื่อติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา 4) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาของการติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน คือ ด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านการสืบค้นข้อมูล และด้านการรายงานผล

2. จากการประเมินสาภาพปัญหาและความต้องการเพื่อการติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ทำให้ได้ระบบสารสนเทศที่เรียกว่า Employment Status System (ESS) ในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) เพื่อใช้ในการติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา

3. ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าสูงสุด คือ ด้านการใช้งานระบบ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 4.68 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

4. ความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามภาวะการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.70 และความพึงพอใจของบุคลากรหน่วยงานแนะแนวอาชีพและการจัดหางาน มีค่าเฉลี่ย 4.65 ซึ่งมีผลอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งสองกลุ่ม

Abstract

This study was conducted with the following purposes: 1) to investigate the conditions, problems and needs of the system to follow up the graduates’ employment status, 2) to develop the  information technology system to follow up the graduates’ employment status, 3) to study the efficiency of the information technology system to follow up the graduates’ employment status, 4) to explore the student’ satisfaction of the information technology system to follow up the graduates’ employment status.

The subjects were 258 students at Swang Daen Din Industrial and Community Education College who were about to graduate in 2014 academic year; and, purposively selected, 2 officials who worked in the Career and Employment Guidance Division.

The instruments used for data collection consisted of 1) the interview form which was used to survey the students’ conditions, problems and needs of the information technology system to follow up the graduates’ employment status, 2) a questionnaire to explore the students’ conditions, problems and needs, 3) the information technology system to follow up the graduates’ employment status, 4) the assessment form to evaluate an efficiency, 5) a questionnaire to examine the students’ satisfaction. The statistics used for data analysis were 1) percentage, 2) mean, 3) standard deviation.

The study unveiled these result:

1. The conditions and problems of following up the graduates’ employment status could be divided into 3 spects: data collection, data search/retrieval, and report of the results.

2. By evaluating the conditions and problems of following up the graduates’ employment status, the Employment Status System was installed on Web Application.

3. The efficiency of the information technology system to follow up the graduates’ employment status, as a whole, was at the highest level containing its mean score of 4.63 level. On each aspect, it was found that the students were satisfied most with using the system at 4.68 level.

4. The students’ satisfaction of the information technology system to follow up the graduates’ employment status was at 4.70; and the satisfaction of the officials who worked in the Career and Employment Guidance Division was at 4.65 level. Both groups were satisfied with the system at the highest levels.

คำสำคัญ
ระบบสารสนเทศ, การติดตามภาวะการมีงานทำ, ผู้สำเร็จการศึกษา
Keywords
Information technology system, the follow up of an employment status, Graduates
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 128.52 KB
2 ประกาศคุณูปการ 110.35 KB
3 บทคัดย่อ 145.94 KB
4 สารบัญ 224.96 KB
5 บทที่ 1 289.71 KB
6 บทที่ 2 718.62 KB
7 บทที่ 3 380.01 KB
8 บทที่ 4 765.65 KB
9 บทที่ 5 390.01 KB
10 บทที่ 6 210.75 KB
11 บรรณานุกรม 236.86 KB
12 ภาคผนวก ก 797.95 KB
13 ภาคผนวก ข 282.71 KB
14 ภาคผนวก ค 254.97 KB
15 ภาคผนวก ง 235.38 KB
16 ภาคผนวก จ 520.71 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 86.98 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 มีนาคม 2562 - 09:45:10
View 896 ครั้ง


^