สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) ศึกษาผลของการใช้หลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียน 2.2) เปรียบเทียบความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมกับระดับขั้นการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านสงเปือย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่มีคะแนนความฉลาดทางสุขภาวะ ต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบวัดความฉลาดทางสุขภาวะ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลังการใช้หลักสูตร ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นนี้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) โครงสร้างของหลักสูตร ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ 6 หน่วย ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 รู้และเข้าใจเรื่องสุขภาพ (6 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เข้าถึงข้อมูลสุขภาพ (8 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สื่อสารข้อมูลสุขภาพ (6 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพ (6 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 จัดการตนเองเกี่ยวกับสุขภาพ (6 ชั่วโมง) หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 รู้เท่าทันสื่อ (4 ชั่วโมง) 4) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และทฤษฎีการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง โดยที่ขั้นตอนหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ส่วนการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองจะสอดแทรกเข้าไปในขั้นทดลอง/ประยุกต์แนวคิดที่มีความเหมาะสมของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งจะช่วยทำให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive) ด้านจิตพิสัย (Attitude) และด้านทักษะพิสัย (Skill) 5) สื่อการเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เอกสารประกอบหลักสูตร ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น มีดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน คำแนะนำสำหรับผู้สอนในการนำหลักสูตรไปใช้
2. ผลการใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีดังนี้
2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง มีความฉลาดทางสุขภาวะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองมีการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะในระดับขั้นการพัฒนาที่สูงขึ้น
2.3 นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหลักสูตรเสริมอยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this study were: 1) to develop a curriculum for enhancing health literacy for primary students based on the concepts of participatory learning and self-regulated learning; 2) to examine the results of implementing the curriculum for enhancing health literacy for primary students based on the concepts of participatory learning and self-regulated learning in 2 aspects as follows: 2.1 comparing health literacy of students who learned through the enrichment curriculum between after and before the treatment, 2.2) comparing health literacy of students who learned through the enrichment curriculum to the step levels of health literacy development; and 3) to examine satisfaction of students with learning using the curriculum for enhancing health literacy for primary students based on the concepts of participatory learning and self-regulated learning.
A sample was 30 fourth-to-sixth grade students enrolled in the first semester of academic year 2014 in Ban Song Puai School, whose scores of health literacy were lower than the 25th percentile. The instruments used were a test of health literacy and a satisfaction questionnaire. Data used to analyze were both quantitative and qualitative. Statistics used for analyzing the quantitative data were mean, standard deviation, and t-test (dependent samples). Qualitative data were analyzed according to the contents.
The findings revealed as follows:
1. The developed curriculum comprised 6 components: 1) curriculum principle; 2) aims of the curriculum; 3) structure of the curriculum which is composed of 6 learning units, namely Learning Unit 1: Know and Understand about Health (6 hrs.), Learning Unit 2: Be Able to Access Health Data (6 hrs.), Learning Unit 3: Use Health Data for Communication (6 hrs.), Learning Unit 4: Make a Decision on Health (6 hrs.), Learning Unit 5: Manage Health by Oneself (6 hrs.), Learning Unit 6: See Through the Media (4 hrs.); 4) guidelines for managing learning activities. This author mixed the theory of participatory learning with the theory of self-regulated learning together. The main steps in managing learning activities employed the participatory learning process, while self-regulated learning was inserted in the class. The experiment/application of appropriate ideas in participatory learning helped students to bring about 3 aspects of learning behaviors: cognitive, attitude and skill. 5) Learning communication and 6) measurement and evaluation of learning. The papers that this author produced to supplement the curriculum comprised 20 learning management plans and instructions for teachers who use the curriculum.
2. Results of implementation of the developed curriculum were as follows:
2.1 Students who learned using the curriculum to enhance health literacy based on the concepts of participatory learning and self-regulated learning had significantly higher health literacy after learning than that before the treatment at the .01 level.
2.2 Students who learned using the curriculum to enhance health literacy based on the concepts of participatory learning and self-regulated learning had their development in health literacy at higher step level.
2.3 Students who learned using the curriculum to enhance health literacy based on the concepts of participatory learning and self-regulated learning had satisfaction of learning with it at the highest level at the .01 level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 101.49 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 238.49 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 57.07 KB |
4 | บทคัดย่อ | 106.10 KB |
5 | สารบัญ | 165.62 KB |
6 | บทที่ 1 | 336.54 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,160.27 KB |
8 | บทที่ 3 | 560.90 KB |
9 | บทที่ 4 | 846.69 KB |
10 | บทที่ 5 | 186.96 KB |
11 | บรรณานุกรม | 370.42 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 229.68 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 1,343.15 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 235.94 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 133.79 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 78.10 KB |