สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พัฒนารูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสม ความถูกต้อง ประโยชน์ และความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สร้างรูปแบบประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การศึกษารายกรณี กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น ด้านจริยธรรม 2 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ ใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญ 21 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบ โดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 550 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในระยะนี้คือแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ มัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีพฤติกรรมที่สำคัญ 5 ประการ คือ ความซื่อสัตย์ การเป็นผู้ให้บริการ ความไว้วางใจ ความยุติธรรม และความผูกพันต่อองค์การ
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 4 องค์ประกอบ คือ ปัจจัยเอื้อหรือสนับสนุนการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม
3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม ความถูกต้อง ประโยชน์และความเป็นไปได้ โดยรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ กระบวนการ วิธีการ พฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและปัจจัยเอื้อหรือสนับสนุน ยกเว้นประโยชน์ที่ปัจจัยเอื้อหรือสนับสนุนอยู่ในลำดับก่อนภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
The objectives of this study were to examine behaviors related to ethical leadership of school directors, to develop a model and to verify the appropriateness, correctness, benefits and possibilities of the developed model on ethical leadership development model for school directors under the offices of the Basic Education Commission in the northeastern region of Thailand. The study was conducted with mixed methods research and was divided into 3 phases. The first phase was the analysis of relevant documents and researches, the interview of experts and the conduction of case studies. The target group in this phase comprised 5 professionals and 2 school directors with ethical leadership. The second phase was the development of the model by the application of modified Delphi's techniques. The target group was 21 experts, selected through purposive sampling. The third phase was the verification of the developed model by conducting a survey on the opinion of 550 school directors and teachers under the offices of the Basic Education Commission in the northeastern region of Thailand in the academic year B.E. 2558, selected through multi-stage sampling. The tool employed in this phase was a 5-level rating scale questionnaire. Statistics implemented in data analysis were mean, standard deviation, percentage, median and interquartile range.
The study yielded the following results.
1. Ethical leadership of school directors comprised 5 significant behaviors, which were integrity, service-minded attitude, the ability in gaining trust from others, justice and organizational commitment.
2. The developed ethical leadership development model for school directors under the offices of the Basic Education Commission in the Northeastern Region of Thailand comprised on 4 components, namely 1) supporting factors in ethical leadership development of school directors, 2) process in ethical leadership development of school directors, 3) approaches in ethical leadership development of school directors and 4) behaviors of school directors who possessed ethical leadership.
3. The overall appropriateness, correctness, benefits and possibilities of the developed model was at the highest level. Each component of the developed model could be prioritized by the mean value from highest to lowest as follows: process in ethical leadership development of school directors, approaches in ethical leadership development of school directors, behaviors of school directors who possessed ethical leadership and supporting factors in ethical leadership development of school directors, with the exception of the benefits in cases which the supporting factors preceded ethical leadership of school directors.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 212.77 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 72.38 KB |
3 | บทคัดย่อ | 118.73 KB |
4 | สารบัญ | 263.97 KB |
5 | บทที่ 1 | 370.47 KB |
6 | บทที่ 2 | 4,134.93 KB |
7 | บทที่ 3 | 755.36 KB |
8 | บทที่ 4 | 2,144.65 KB |
9 | บทที่ 5 | 415.41 KB |
10 | บรรณานุกรม | 549.45 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 138.24 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 457.30 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 779.65 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 677.40 KB |
15 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 87.57 KB |