สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ
1)ศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม
2)เปรียบเทียบปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง
3)เปรียบเทียบปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมจำแนกตามประสบการณ์ทางการบริหาร
4)เปรียบเทียบปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมจำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา5)เปรียบเทียบปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมจำแนกตามขนาดของโรงเรียน6)เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน400คนกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ในกลุ่มรองผู้อำนวยโรงเรียนผู้วิจัยใช้เป็นกลุ่มเป้า หมายเก็บข้อมูลทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test ชนิด(One Way ANOVA)ทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Sheffe’)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ปัญหาการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2.ผลการเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง
2.1ปัญหาการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียน ในโรงเรียนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2ความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.ผลการเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนจำแนกตามประสบการณ์ทางการบริหารพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนจำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5.ผลการเปรียบเทียบปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียนมากกว่าโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6.แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญผู้บริหารควรประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อพิจารณา ความดี ความชอบตามลำดับของผลการปฏิบัติงาน เพื่อลดความขัดแย้งภายในโรงเรียน สามารถวิเคราะห์นโยบาย จุดมุ่งหมายและขอบข่ายงานได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน มีการออกแบบการวิจัย การเขียนรายงานผลงานทางวิชาการและการจัดทำเอกสารเพื่อกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้น
This study aimed at 1) investigating problems and needs of self-development of schools administrators in schools under the Offices of NakhonPhanom Primary Educational Service Area, 2) comparing problems and needs of self-development of school administrators in schools classified by administrative status attained, 3) comparing problems and needs of self-development of the school administrators classified by administrative experience attained, 4) comparing problems and needs of self-development of the school administrators classified by office of primary educational service area , 5) comparing problems and needs of self-development of school administrators classified by school size, and 6) finding out guidelines to promote self-development among school administrators. Samples used consisted of 400 school directors and assistant/deputy directors in schools under the Offices of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area in the academic year 2014 using multi-stage random sampling. A tool used was a questionnaire. Percentage, mean, standard deviation, F-test(One-Way ANOVA) and Scheffe’s Method were employed to analyze data.
The findings of this study were as follows:
1. The problems and needs on self-development of the school administrators, as a whole, were at the moderate level.
2. The effects of the comparison on the problems and needs of self-development of the school administrators classified by position status attained were:
2.1 The problems on the school administrators’ self-development classified by position status attained were at the .01 level of significance.
2.2 There was a difference on the needs of self-development among the school administrators classified by position status attained at the .05 level of significance.
3. The comparison of the problems and needs on self-development of the school administrators classified by administrative experience showed a difference at the .01 level of significance.
4. There was a significant difference on the effects of comparison on self-development among the school administrators classified by the office of primary educational service area at the .01 level.
5. The effects of comparison on the problems and needs of self-development among the school administrators classified by school size revealed that there was a difference at the .01 level of significance. When the pairwise comparison was done, it was found that the small schools faced more problems and needs than the medium-sized and large schools at the .05 level of significance.
6. The guidelines on self-development of the school administrators in the perception of experts revealed that the administrators should evaluate the results of their subordinates’ performances in order to judge the yearly rewarding schemes in order to reduce conflicts in the schools. Moreover, the administrators were to analyze policies, objectives and significant work networks in the concrete performance through technology and innovation employed. In addition, designation of research, writing of report on academic performance as well as the making of documents in order to get promoted up to the higher rank were also included.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 101.35 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 79.36 KB |
3 | บทคัดย่อ | 120.84 KB |
4 | สารบัญ | 282.46 KB |
5 | บทที่ 1 | 141.98 KB |
6 | บทที่ 2 | 352.92 KB |
7 | บทที่ 3 | 422.59 KB |
8 | บทที่ 4 | 391.51 KB |
9 | บทที่ 5 | 279.10 KB |
10 | บรรณานุกรม | 333.92 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 285.57 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 287.20 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 327.10 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 224.79 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 106.47 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 270.21 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 72.02 KB |