ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาชุดฝึกทักษะคอมพิวเตอร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกาเย่ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีผลต่อพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Development of the Package for Training Computer Skills Using Gange’s Learning Management and Cooperative Learning of STAD Affecting Prathom Suksa 4 Students’ Collaborative Behaviors, Critical Thoughts and Learning Achievements
ผู้จัดทำ
ปราศรัย ภูชุม รหัส 56421231138 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์, ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะคอมพิวเตอร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกาเย่ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือ 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
5) เปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีระดับความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน (สูงปานกลาง และต่ำ) หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดย วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ 2) แบบวัดพฤติกรรมความร่วมมือ 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One–Way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (One–Way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
ทางเดียว (One–Way ANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 87.76/80.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

2. พฤติกรรมความร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. การคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.  นักเรียนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคอมพิวเตอร์ มีพฤติกรรมความร่วมมือ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปรากฏผลดังนี้

5.1 นักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูง มีพฤติกรรมความร่วมมือสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ปานกลาง และต่ำ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

5.2 นักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูง มีการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ปานกลาง และ ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.3 นักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์สูง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์ปานกลาง และต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this study were the following: 1) to develop the package for training computer skills of Prathom Suksa 4 students using Gange’s Learning Management and Cooperative Learning of STAD to contain the efficiency of 80/80, 2) to compare the students’ collaborative behaviors, 3) to compare the students’ critical thoughts, 4) to compare the students’ learning achievements, and 5) to compare collaborative behaviors, critical thoughts, and learning achievements of Prathom Suksa 4 students whose emotional intelligences differed (high, moderate and low) after they had learnt through the developed the package for training computer skills. The subjects were 29 Prathom Suksa 4 students who were studying in the first semester of 2017 academic year under the jurisdiction of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2. They were obtained through cluster random sampling. The instruments included 1) the package for training computer skills, 2) the form to measure the students’ collaborative behaviors, 3) the test to evaluate the students’ critical thoughts, 4) learning achievement test, and 5)  the Department of Mental Health’s emotional intelligence test. The statistics employed for data analysis incorporated percentage, mean, standard deviation, t-test (Dependent Samples), One-way ANOVA, One-way MANCOVA, and One-way ANCOVA.

The study revealed these results:

1. The package for training computer skills of Prathom Suksa 4 students using Gange’s Learning Management and Cooperative Learning of STAD contained the efficiency of 87.76/80/.56 which was higher than the set criteria of 80/80.

2. After Prathom Suksa 4 students had learnt through the developed package for training computer skills, their collaborative behaviors were significantly higher than those of before at .05 statistical level.

3. After Prathom Suksa 4 students had learnt through the developed package for training computer skills, their critical thoughts were significantly higher than those of before at .05 statistical level.

4. After Prathom Suksa 4 students had learnt through the developed package for training computer skills, their learning achievements were significantly higher than those of before at .05 statistical level.

5. After the students whose emotional intelligences differed (high, moderate and low) had learnt through the developed package for training computer skills, their collaborative behaviors, critical thoughts and learning achievements significantly varied at .05 statistical level.

5.1 The students whose emotional intelligences were high had significantly higher collaborative behaviors than the ones whose emotional intelligences were moderate and low at .05 statistical levels.

5.2 The students whose emotional intelligences were high had significantly higher critical thoughts than the ones whose emotional intelligences were moderate and low at .05 statistical levels.

5.3 The students whose emotional intelligences were high had significantly higher learning achievements than the ones whose emotional intelligences were moderate and low at .05 statistical levels.

คำสำคัญ
ทักษะคอมพิวเตอร์, การจัดการเรียนรู้แบบกาเย่, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, พฤติกรรมความร่วมมือ, การคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Keywords
Package for training computer skills, Gange’s Learning Management, Cooperative Learning of STAD, collaborative behaviors, critical thoughts, learning achievement
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 79.55 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 130.53 KB
3 ประกาศคุณูปการ 42.39 KB
4 บทคัดย่อ 81.78 KB
5 สารบัญ 153.13 KB
6 บทที่ 1 287.92 KB
7 บทที่ 2 1,218.25 KB
8 บทที่ 3 459.16 KB
9 บทที่ 4 195.43 KB
10 บทที่ 5 211.38 KB
11 บรรณานุกรม 213.22 KB
12 ภาคผนวก ก 167.30 KB
13 ภาคผนวก ข 4,843.29 KB
14 ภาคผนวก ค 407.96 KB
15 ภาคผนวก ง 283.55 KB
16 ภาคผนวก จ 303.92 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 74.80 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 เมษายน 2562 - 10:25:06
View 1887 ครั้ง


^