ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม
A Model for Leadership Development for Chief Judge of the Courts of Justice
ผู้จัดทำ
นพรัตน์ อภิวิมลลักษณ์ รหัส 56620232101 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม 3) ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ  3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน ตรวจสอบ ยืนยันความถูกต้องและประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและวิธีการพัฒนา    ภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรมโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และการวิจัยเชิงสำรวจโดยสอบถามระดับการปฏิบัติการใช้ภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลจังหวัด ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลแขวง ทั่วประเทศ จำนวน 219 ศาล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการ   ตุลาการและผู้พิพากษาอาวุโส ผู้อำนวยการฯประจำศาล และหัวหน้าส่วน/หัวหน้ากลุ่มงาน ในศาลดังกล่าว ประชากร จำนวน 3,978 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  350  คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม ประกอบด้วย การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม และตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ระยะที่  3 การทดลองใช้รูปแบบ ประเมินรูปแบบ สรุปผลรูปแบบและนำเสนอรูปแบบ โดยการนำไปทดลองใช้ในศาลจังหวัดและศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด สังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4  จำนวน  4 ศาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

ผลการวิจัย  พบว่า  

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพผู้พิพากษา 2) มนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพ 3) ความรู้และทักษะในการบริหาร และ 4) คุณธรรมและจริยธรรม ระดับ ภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ คุณธรรมและจริยธรรม มนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพ ความรู้และทักษะในการบริหาร และความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพผู้พิพากษา 

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม  ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ  3) เนื้อหาของรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ  และ 5) การวัดและประเมินผล

3.  ผลของการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม พบว่า

3.1 ความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3.2 ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม จากการตอบแบบประเมินก่อนการทดลองใช้มีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติ/พฤติกรรมการใช้ภาวะผู้นำของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก และหลังการทดลองใช้มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 8.18 อีกทั้งผลจากการสัมภาษณ์ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the components of leadership for Chief Judge of the Courts of Justice, 2) construct a model for developing leadership for Chief Judge of the Courts of Justice, and 3) examine the effectiveness of the proposed model for developing leadership for Chief Judge of the Courts of Justice. This Research and Development (R&D) was divided into three phases: Phase I Component Investigation and Methodology for Developing leadership for Chief Judge of the Courts of Justice. This phase comprised both document inquiries and literature reviews. Furthermore, in-depth interviews were conducted with 18 experts. Those structured interviews were further examined an assessed in respect to appropriateness of the components and the development of methods of leadership through 10 experts.  In addition, the five-rating scale of survey questionnaire was administrated examining a level of leadership behavior of Chief Judge from 219 courts-the Provincial Court, the Juvenile and Family Court, and the Kwaeng Court throughout Thailand.  The samples, obtained through the Krejcie and Morgan formula, were 350 persons drawn from a total of 3,978 Justice civil servants,  judges and senior judges, directors, and section heads or unit heads. The statistical analysis employed included frequency, percentage, mean, and standard deviation. Phase II Model Construction and Development involved a model establishment for developing leadership for Chief Judge of the Courts of Justice,  and a assessment in terms of model validation and appropriateness through 10 experts. Phase III Model implementation, Assessment, Conclusion, and Presentation. The model implementation was conducted at four diverse courts drawn from the Provincial Courts, and the Juvenile and Family Courts under the Office of the Chief Justice, Region IV. The data analysis comprised mean and deviation.

The findings revealed as follows :

1. The four components of leadership for Chief Judge of the Courts of Justice consisted of 1) knowledge and professional experience, 2) interpersonal relations and personality, 3) knowledge and management skills, and 4) moral and ethics. The leadership level of Chief Judge of the Courts of Justice, as a whole, was at the highest level, ranged from high to low respectively: moral and ethics, interpersonal relations and personality, knowledge and management skills, and knowledge and professional experiences. 

2. The model for developing leadership of Chief Judge of the Courts of Justice comprised  five components : 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) process, and 5) measurement and evaluation. 

3. The results from investigating  the effectiveness of the proposed model for leadership development for Chief Judge of the Courts of Justice revealed that :

3.1 The model appropriateness, as a whole, was at the highest level.

3.2 The mean scores of a level of leadership behavior of Chief Judge, as a whole, from the post-implementation period was at the highest level, compared to those of the pre-implementation period which was at a high level.  In addition, the results revealed that the sampled Chief Judges practiced their leadership behaviors a percentage of progress of 8.18. The interviews also showed results in the same direction.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ, ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลยุติธรรม
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 127.31 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 365.39 KB
3 ประกาศคุณูปการ 43.39 KB
4 บทคัดย่อ 77.52 KB
5 สารบัญ 132.16 KB
6 บทที่ 1 134.97 KB
7 บทที่ 2 1,582.57 KB
8 บทที่ 3 361.62 KB
9 บทที่ 4 853.54 KB
10 บทที่ 5 290.27 KB
11 บรรณานุกรม 276.38 KB
12 ภาคผนวก ก 108.71 KB
13 ภาคผนวก ข 89.16 KB
14 ภาคผนวก ค 698.74 KB
15 ภาคผนวก ง 2,917.02 KB
16 ภาคผนวก จ 26,471.91 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 59.10 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 มกราคม 2561 - 09:23:59
View 973 ครั้ง


^