ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
A Model for Teacher Instructional Leadership Development in the Teacher Training Colleges in Central Region of Socialist Republic of Vietnam.
ผู้จัดทำ
Le Duc Quang รหัส 56620232111 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครู 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู 3) ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครู เขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างใด้แก่ ครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ปีการศึกษา 2557 จำนวน 291 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ระยะที่ 2 การออกแบบและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ประกอบด้วย การร่างรูปแบบ การปรับปรุงรูปแบบและทำการยืนยันรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยผู้เชี่ยวชาญ 10 คน  ระยะที่ 3 การทดลองใช้และสรุปผลการทดลอง โดยนำรูปแบบที่ได้ไปทดลองใช้กับครูในวิทยาลัยครูกวางตรี สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.  องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มี 5 องค์ประกอบหลัก และ 15 องค์ประกอบย่อย ดังนี้คือ  1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายการเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ  ร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้  ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเรียนรู้  และสร้างเกณฑ์มาตรฐานทางวิชาการ  2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน มี 4 องค์ประกอบย่อยคือ ความเข้าใจหลักสูตรกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  การใช้และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  การจัดการเรียนการสอนและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการสอน  3) ด้านการส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียน มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน  ความคาดหวังต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและการเพิ่มพูนความก้าวหน้าของผู้เรียน  4) ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้  การแลกเปลี่ยนความคิดและสะท้อนผลงานและการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับครูผู้สอน ผู้เรียน และชุมชน  5) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มี 2 องค์ประกอบย่อยคือ ให้ความสำคัญแก่การวิจัย  และมีความรู้และทักษะการทำวิจัย  สำหรับตัวชี้วัดภาวะผู้นำทางวิชาการของครู รวมทั้งสิ้นมี 75 ตัวชี้วัด

2.  รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครู เขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหากระบวนการพัฒนา และการวัดและประเมินผล

3. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พบว่า ระยะระหว่างการทดลองรูปแบบผลค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินภาวะผู้นำทางวิชาการของครูสูงกว่าก่อนการทดลอง และในระยะติดตามผลสูงกว่าระยะระหว่างการทดลองรูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูมีประสิทธิผลสามารถพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามให้สูงขึ้นได้

Abstract

The purposes of this research were to: 1) investigate the components of teacher instructional leadership, 2) construct and develop the model for developing teacher instructional leadership, and 3) examine the effectiveness of a developed model for developing teacher instructional leadership at the Teacher Training Colleges in the central Vietnam. This Research and Development (R&D) was divided into three phases: Phase I Exploration of a conceptual framework and components of teacher instructional leadership comprised document inquiry and analysis, experts’ examination, and a survey. The samples were 391 teachers at the Teacher Training Colleges in the central Vietnam, in the academic year 2011. The instrument for collecting data was a set of 5-point rating scale questionnaire. The statistics used in analyzing data were frequency, percentage, mean and standard deviation. Phase II was related to designing and improving a model and further refinement by the ten experts. Phase III was related to implementing the developed model and summarizing the results, The samples were 20 teachers at the Quang Tri Teacher Training College, Socialist Republic of Vietnam. The data analysis comprised mean and deviation.

The findings were as follows:

1. The components of teacher instructional leadership at the Teacher Training Colleges in the central Vietnam involved five major components,15 sub-components, and 75 indicators as follows: 1) Vision, mission, and learning goals, consisting of three sub-components which involved participation in the creation of guidelines for learning development, giving top priority for learning, and creation of academic benchmarks. 2) Curriculum and teaching development, consisting of four sub-components which involved understanding the curriculum associated with the relevant factors, the implementation and development of school curriculum, the teaching and learning management, and the use of information technology and teaching materials.  3) Student quality enhancement, consisting of three sub-components which involved students’ achievement development, expectations for students’ learning, and students’ progress enhancement 4) Creation of supportive learning environment, consisting of three sub-components, which were promoting learning atmosphere, exchanging ideas and reflective practice, and building and maintaining good relationships with teachers, students, and community, and 5) Conducting research to improve the quality of education, consisting of two  sub-components which involved research focus, and having knowledge and skills for conducting research.

2. The model for developing teacher instructional leadership at the Teacher Training Colleges in central Vietnam comprised principles, objectives, contents, development procedure, and measurement and evaluation.

3. The efficiency index of the model for developing teacher instructional leadership at Teacher Training Colleges in central Vietnam. As after the 3-phase-implementation, the teacher instructional leadership was higher than that before the intervention and that of the monitoring period was higher than that of the time of the training in actual practice setting at a .01 level of significance. Considering the results, it could be concluded that the developed model was efficient for developing teacher instructional leadership at Teacher Training Colleges in central Vietnam.

คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนา, ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำทางวิชาการ
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 111.84 KB
2 ประกาศคุณูปการ 69.31 KB
3 บทคัดย่อ 105.97 KB
4 สารบัญ 173.88 KB
5 บทที่ 1 349.63 KB
6 บทที่ 2 2,031.67 KB
7 บทที่ 3 341.58 KB
8 บทที่ 4 920.29 KB
9 บทที่ 5 379.22 KB
10 บรรณานุกรม 332.77 KB
11 ภาคผนวก ก 177.33 KB
12 ภาคผนวก ข 962.15 KB
13 ภาคผนวก ค 1,291.58 KB
14 ภาคผนวก ง 1,926.27 KB
15 ภาคผนวก จ 9,708.45 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 77.65 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
6 มกราคม 2561 - 15:34:48
View 993 ครั้ง


^