ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Instructional Leadership of School Administrators Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Management in Secondary Schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 21
ผู้จัดทำ
ดวงพร แสนภูวา รหัส 57421229107 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร.วชิราวุธ ปานพรม
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยจำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 56 คน ครูผู้สอน จำนวน 268 คน รวมทั้งสิ้น 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 อยู่ในระดับมากที่สุด

2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  21 ไม่แตกต่างกัน 

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 ไม่แตกต่างกัน

4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ไม่แตกต่างกัน

5. ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 อยู่ในระดับมากที่สุด 

6. ประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ไม่แตกต่างกัน

7. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันของโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ไม่แตกต่างกัน

8. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ไม่แตกต่างกัน

9. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มีความสัมพันธ์กันทางบวก

10. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านที่มีอำนาจพยากรณ์ และประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ได้แก่ ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านวิชาการ ด้านการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

11. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านวิชาการ ด้านการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

Abstract

The research aimed to investigate, compare and identify the relationship and predicting power between school administrators’ instructional leadership and the effectiveness of academic affairs management in secondary schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 21, classified by status, work experience and school size. The total sample of 324 persons consisted of 56 school administrators, 268 teachers from the secondary schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 21. The research instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires. Statistics employed to analyze data were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

  The findings were as follows:

1. The instructional leadership of school administrators as perceived by school administrators and teachers in secondary schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 21 was at the highest level.

2. The instructional leadership of school administrators as perceived by school administrators and teachers in secondary schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 21 showed no differences.

3. The instructional leadership of school administrators in the perception of school administrators and teachers with different work experience showed no differences.

4. There were no differences on instructional leadership of administrators as perceived by school administrators and teachers with different school size.

5. The effectiveness of the academic affairs management of secondary schools as perceived by administrators and teachers was at the highest level. 

6. The effectiveness of the academic affairs management of secondary schools in the perception of administrators and teachers showed no differences.

7. The effectiveness of school academic affairs management in the opinions of administrators and teachers from secondary schools with different work experience had no differences.

8. The effectiveness of school academic affairs management in the perception of administrators and teachers with different school size had no different.

9. There was a positive relationship between school administrators’ instructional leadership and the effectiveness of academic affairs management.

10. The instructional leadership of school administrators in terms of predicting power and the effectiveness of academic affairs management of secondary schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 21 comprised four aspects: atmosphere promoting academic affairs, personnel development on academic affairs, effective leaders, school educational quality.

11. This research was also proposed the guidelines for instructional leadership development of secondary school administrators in the four aspects: atmosphere promoting academic affairs, personnel development on academic affairs, effective leaders, school educational quality.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 204.24 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 356.96 KB
3 ประกาศคุณูปการ 62.11 KB
4 บทคัดย่อ 75.72 KB
5 สารบัญ 101.14 KB
6 บทที่ 1 154.58 KB
7 บทที่ 2 313.19 KB
8 บทที่ 3 237.89 KB
9 บทที่ 4 547.60 KB
10 บทที่ 5 169.21 KB
11 บรรณานุกรม 125.84 KB
12 ภาคผนวก ก 7,454.58 KB
13 ภาคผนวก ข 359.88 KB
14 ภาคผนวก ค 70.13 KB
15 ภาคผนวก ง 128.40 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 67.16 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 มกราคม 2561 - 10:52:00
View 1535 ครั้ง


^