สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรของครู โรงเรียนบ้านเหล่าสร้างถ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร โรงเรียนบ้านเหล่าสร้างถ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร โรงเรียนบ้านเหล่าสร้างถ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร พบว่า ครูประจำชั้นเป็นผู้สอนทุกกลุ่มสาระเรียนรู้ มีภาระการสอนมาก จัดตารางเรียนตามเนื้อหารายวิชาที่ไม่มีความยืดหยุ่น การสอนเนื้อหาและภาระงานมีความซ้ำซ้อน 2) ปัญหาที่พบ คือ ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ตัวบ่งชี้ที่ 5 ของ สมศ.) มีคุณภาพอยู่ในระดับปรับปรุง ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าทุกระดับ
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร โรงเรียนบ้านเหล่าสร้างถ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร โรงเรียนบ้านเหล่าสร้างถ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรเพิ่มมากขึ้นหลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจรแล้ว ผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ครูสามารถจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบครบวงจร โดยรวมอยู่ในระดับมาก
The purposes of this research were to 1) examine conditions and problems of the Integrated Learning Management Cycle Approach at Ban Laosangtho school under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area, 2) identify the guidelines for developing teachers’ competence on Integrated Learning Management Cycle Approach, and 3) follow up the effects after the intervention. The research methodology employed was a two-spiral participatory action research, with each cycle comprising four stages of planning, action, observation and reflection. The participants were six co-researchers, and 31 informants. The research instruments comprised assessment forms, observation forms, interview forms, and written records. The quantitative data were analyzed by using mean, percentage and standard deviation. Content analysis was used to analyze the qualitative data, in forms of content classification and descriptive presentation.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems of the Integrated Learning Management Cycle Approach at Ban Laosangtho School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area revealed that: 1.1) In terms of conditions, excessive teacher workload, inflexible class schedules for the subject contents, overlapping teaching and learning practice were found, 1.2) In terms of problems, it was found that there was teachers lacked knowledge about Integrated Learning Management Cycle Approach, a low level of students’ learning achievement (Indicator 5 of ONESQA), a low level of O-NET scores for Pratomsuksa 6 level in all fields.
2. The proposed guidelines for developing teachers’ competence fell into two categories: a training workshop, and an internal supervision.
3. The results after the intervention revealed that: 1) Teachers gained knowledge and understanding on Integrated Learning Management Cycle Approach, as a whole, at a high level, 2) Teachers gained better skills in writing lesson plans based on Integrated Learning Management Cycle Approach. The result from the assessment, as a whole, was at the highest level, and 3) Teachers employed the developed lesson plans into practice, as a whole, at the highest level. The students reported their satisfaction towards learning, as a whole, at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 93.24 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 27.21 KB |
3 | บทคัดย่อ | 75.73 KB |
4 | สารบัญ | 90.17 KB |
5 | บทที่ 1 | 171.95 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,319.32 KB |
7 | บทที่ 3 | 160.68 KB |
8 | บทที่ 4 | 477.93 KB |
9 | บทที่ 5 | 193.38 KB |
10 | บรรณานุกรม | 122.75 KB |
11 | ไม่ระบุประเภทไฟล์ | 12,431.79 KB |
12 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 41.25 KB |