สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) 2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม 3) ศึกษาระดับของทักษะการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ของครูหลังการฝึกอบรมและ 4) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล 3 “ยุติธรรมวิทยา” สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าสถิติทดสอบที (t-test for dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรฝึกอบรมการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดประสงค์ 2) สาระความรู้ประสบการณ์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) การประเมินผล
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) อยู่ในระดับดีมาก
4. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) อยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this study were: 1) to develop an e-book production training curriculum, 2) to compare knowledge and understanding of e-book production between before and after training, 3) to investigate the level of teachers’ e-book production skill after training, and 4) to examine the satisfaction of teachers on the training curriculum. The study was divided into 4 phases: phase 1–analyzing basic data for training curriculum development, phase 2–developing the training curriculum, phase 3–experimenting in the training curriculum implementation, and phase 4–improving the training curriculum. The sample group was 40 teachers of Municipal Secondary School 3 “Yutithamwithaya” under the Office of Education, Sakon Nakhon City Municipality, Mueang district, Sakon Nakhon province in academic year 2017, which were selected by cluster random sampling. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.
Findings of the study were revealed as follow:
1. The e-book production training curriculum comprised of 4 components: 1) objectives, 2) substance in knowledge/experience, 3) instructional process, and 4) evaluation.
2. Knowledge and understanding of the samples on e-book production after the training was significantly higher than of which before training at the .05 level.
3. The e-book production skill of the samples was at high level.
4. The satisfaction of the samples on e-book production training curriculum was at the highest level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 96.84 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 405.63 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 37.14 KB |
4 | บทคัดย่อ | 119.57 KB |
5 | สารบัญ | 104.16 KB |
6 | บทที่ 1 | 192.67 KB |
7 | บทที่ 2 | 929.71 KB |
8 | บทที่ 3 | 255.15 KB |
9 | บทที่ 4 | 252.65 KB |
10 | บทที่ 5 | 186.88 KB |
11 | บรรณานุกรม | 168.31 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 77.76 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 6,990.34 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 120.98 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 265.31 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 321.32 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 135.53 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 131.71 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 7,732.92 KB |
20 | ภาคผนวก ฌ | 763.55 KB |
21 | ภาคผนวก ญ | 225.82 KB |
22 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 46.46 KB |