ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
A Development of Training Curriculum on Logical Thinking Skill for Prathom Suksa 3 Students under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3
ผู้จัดทำ
สรญา วัชระสังกาศ รหัส 57421236123 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ดร.อรวรรนี ไชยปัญหา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลและ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด ทฤษฎีขั้นที่ 2 การสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพและการปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านยางคำ อำเภอวานรนิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 25 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากการตรวจสอบหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ใช้วิธีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ   จำนวน 5 คน มุ่งเน้นการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องส่วนประกอบของหลักสูตรสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบที (t-test for dependent samples) 

ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหา 3) กระบวนการฝึกอบรมและ 4) การวัดและประเมินผล

2. ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this study were to 1) develop a training curriculum on logical thinking skills and 2) evaluate the efficiency of the training curriculum on logical thinking skills for Prathom Suksa 3 students under the Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3. The study was divided into 2 phases. Phase 1 was the curriculum development, which was conducted in 3 steps as follows: step 1 - the studying of basic information, concepts and theories; step 2 - training curriculum building and development; step 3 - implementation of the developed training curriculum. Phase 2 was the evaluation and improvement of the developed training curriculum. The samples were 25 Prathom Suksa 3 students from Baan Yang Kham School in Wanon Niwat District, which was under the Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3, in the first semester of the academic year B.E. 2559, selected with simple random sampling by drawing lots. The evaluation was done by 5 experts, focusing on the appropriateness and congruence of the developed training curriculum. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation (S.D.) and t-test for dependent samples.

The study yielded the following results.

1. The developed training curriculum on logical thinking skills for Prathom Suksa 3 students under the Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3 comprised of 4 elements, namely 1) objectives; 2) content; 3) training process; 4) assessment and evaluation.

2. When considering the efficiency of the developed training curriculum, it could be explained that 1) students' knowledge and understanding on logical thinking skills after participating in the curriculum was higher than that prior to the participation with a statistical significance at the .01 level; 2) students' logical thinking skill was at a very good level; 3) student satisfaction on the developed training curriculum was at the highest level.

คำสำคัญ
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 มกราคม 2561 - 12:38:34
View 863 ครั้ง


^