สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) ตรวจสอบความเหมาะสมในการนำไปใช้ของกลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้น 3) พัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัยดำเนินการใน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสำรวจสภาพปัญหาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 150 คน ครูผู้สอนสาระเทคโนโลยี จำนวน 150 คน 2) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และ 4) การศึกษาพหุกรณีโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 2 โรงเรียน ระยะที่ 2 ร่างและพัฒนากลยุทธ์ ดำเนินการใน 2 ขั้น ดังนี้ 1) การร่างกลยุทธ์ โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากระยะที่ 1 และ 2) การพัฒนากลยุทธ์ โดยใช้เทคนิคการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Experts Group Meeting) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมในการนำไปใช้ของกลยุทธ์ โดยการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสาระเทคโนโลยี จำนวน 452 คน ระยะที่ 4 การพัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์ โดยร่างคู่มือการใช้กลยุทธ์นำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความความเหมาะสมในการนำไปใช้เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
ผลการวิจัยพบว่า
1.กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี กลยุทธ์ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลสำหรับ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมในการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. คู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.16)
The purposes of this research were: 1) to develop strategies of effective information technology management in Educational Opportunity Expansion Schools 2) to verify the appropriateness application of the developed strategies, and 3) to develop the application handbooks of the developed strategies. A mixed-methods research design was employed and depicted in four phases: Phase I-Research Framework Determination comprising four steps: 1) a survey on problems of information technology management with 150 school administrators and 150 technology teachers, 2) Document inquiries, 3) Interviews with nine scholars; and 4) Multi-case studies of two model schools. Phase II- Strategic Draft and Development comprising two steps: 1) Drafting Strategies. Data collected at Phase I were analyzed, 2) Developing Strategies. A further meeting of the experts’ group was held with nine experts. Phase III Strategy Verification for Appropriateness.A set of questionnaires was carried out to obtain opinions of 452 school administrators and technology teachers. Phase IV was related to developing strategic application handbooks. The drafted handbooks were assessed for appropriateness through evaluation by five experts, using a 5-rating scale questionnaire.
The findings were as follows:
1. The strategies of effective information technology management in Educational Opportunity Expansion Schools consisted of five strategies: Strategy 1-Information Technology Management in Schools, Strategy 2- Development of Information Technology Infrastructure, Strategy 3-Personnel Development on Information Technology, Strategy 4-Information Technology Application for Learning Management, and Strategy 5-Cooperation Network Development for Information Technology Development.
2. The overall application appropriateness of the developed strategies was at a high level.
3. The overall appropriateness of the developed application handbooks was at a high level ( = 4.50, S.D. = 0.16)
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 126.01 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 162.01 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 247.95 KB |
4 | บทคัดย่อ | 149.52 KB |
5 | สารบัญ | 319.71 KB |
6 | บทที่ 1 | 574.25 KB |
7 | บทที่ 2 | 3,188.74 KB |
8 | บทที่ 3 | 650.43 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,365.97 KB |
10 | บทที่ 5 | 437.60 KB |
11 | บรรณานุกรม | 532.13 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 830.62 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 115.34 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 277.59 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 197.01 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 375.24 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 1,452.22 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 1,033.74 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 100.08 KB |