สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหาร และองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 331 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 87 คน และ ครูผู้สอน 244 คน จาก 87 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard Deviation) การทดสอบค่าที ชนิดกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระจากกัน (t - test Independent Samples) ทดสอบเอฟ (F - test) แบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) และ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมในแต่ละด้าน อยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยทางการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน
3. ปัจจัยทางการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่ปฏิบัติงาน ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยรวมในแต่ละด้าน ไม่แตกต่างกัน
4. ปัจจัยทางการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ ในตำแหน่งต่างกัน โดยรวมในแต่ละด้าน ไม่แตกต่างกัน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหาร และองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ตัวแปรปัจจัยทางการบริหารและองค์การแห่งการเรียนรู้ จำนวน 7 ด้าน สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน โดย 4 ด้านสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการคิดเชิงระบบ ด้านการจูงใจ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม และ 3 ด้านสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านแบบแผนความคิด ด้านความรอบรู้แห่งตน และ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 75.900 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.234
7. ปัจจัยทางการบริหารและองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ควรพัฒนา ได้แก่ ด้านการคิดเชิงระบบ ด้านการจูงใจ ด้านแบบแผนความคิด ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม และ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางพัฒนาไว้ด้วย
The purposes of this research were to study, compare, examine the relationship, find out the predictive power, and establish the guidelines for developing administrative factors and Leaning Organization affecting school effectiveness under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area. The samples consisted of 331 people Including 87 school administrators and 244 teachers from 87 schools under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area in the academic year 2016. The instrument for data collection was a set of 5 - level rating scale questionnaires. Statistics employed to analyze data were percentage, mean, standard deviation, t - test (Independent Samples), F - test (One Way ANOVA), Pearson's Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression analysis.
The findings of this research were as follows:
1. The administrative factors, Learning Organization, and school effectiveness as perceived by school administrators and teachers, as a whole and in each aspect, were at a high level.
2. The administrative factors, Learning Organization, and school effectiveness as perceived by school administrators and teachers, as a whole and in each aspect, showed no difference.
3. The administrative factors, Learning Organization, and school effectiveness as perceived by school administrators and teachers from different school sizes, as a whole and in each aspect, were not different.
4. The administrative factors, Learning Organization, and school effectiveness as perceived by school administrators and teachers with different working experiences, as a whole and in each aspect, showed no difference.
5. The relationship between the administrative factors and Learning Organization showed the positive relationship toward school effectiveness at the .01 level of statistical significance.
6. The seven variables of administrative factors and Learning Organization could predict the school effectiveness at the .01 level of statistical. The first four variables involved: System thinking, Motivation, Personnel Development, and Shared Vision. Meanwhile, the three variables, included Mental Models, Personal Mastery, and Information technology, were able to predict the school effectiveness at the .05 level of statistical significance, with the predictive power of 75.900 percent and standard error of ± 0.234.
7. The variables of the administration and Learning Organization found most in need of further development were: System thinking, Motivation, Mental Models, Personnel Development, Personal Mastery, Shared Vision, and Information technology. In this research, the development guidelines were also proposed.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 132.80 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 363.50 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 147.52 KB |
4 | บทคัดย่อ | 303.75 KB |
5 | สารบัญ | 339.66 KB |
6 | บทที่ 1 | 409.17 KB |
7 | บทที่ 2 | 2,016.06 KB |
8 | บทที่ 3 | 540.92 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,713.53 KB |
10 | บทที่ 5 | 512.05 KB |
11 | บรรณานุกรม | 357.38 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 3,187.74 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 462.21 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 653.43 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 196.01 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 894.30 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 249.34 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 173.35 KB |