สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5ด้าน คือ ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตนเองด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเองด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเองด้านการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นด้านการมีทักษะทางสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, F-test (One way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation)การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมแตกต่างกัน
3. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโดยรวมแตกต่างกัน
4. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก
5. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมแตกต่างกัน
6. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกันโดยรวมแตกต่างกัน
7. ความฉลาดทางอารมณ์ โดยภาพรวมและรายด้านกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
8. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ดีที่สุด คือ ด้านการมีทักษะทางสังคมซึ่งตัวแปรทั้งสามมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 47.10และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±.24156
9. แนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่ามี 3ด้านที่นำเสนอแนวทางพัฒนา ประกอบด้วย ด้านการมีทักษะทางสังคม ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง ด้านการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น
The purposes of this research were to:examine theEmotional Quotient (EQ)of administrators and the school effectiveness, compare, and find out the relationship and the predictive power of factors ofthe administrators’ EQ affecting school administration effectiveness under the Office of SakonNakhonPrimary Educational Service Area 3. The sampleswere 333 administrators, teachers andchairpersons of the Basic Educational InstitutionCommittee. The research tool for data collection was a set of 5-point rating scalequestionnaires which was categorized into five aspects: emotional self-awareness, emotional self-control, self-motivation creation, empathy, and social skills. The statistics employed were percentage, mean, standard deviation. The hypothesis testing was done throught-test, F-test (One way ANOVA), Pearson Product-moment Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The results of the research were as follows:
1. The level of administrators’ EQin schools under the Office of SakonNakhon Primary Educational Service Area 3, as perceived by administrators, teachers and chairpersons of the Basic Educational Institution Committee, as a whole was at a high level.
2. The school administrators’ EQ as perceived by administrators, teachers and chairpersons of the Basic Educational Institution Committee, as a whole was different.
3. The school administrators’ EQ as perceived by administrators, teachers and chairpersons of the Basic Educational Institution Committee with different school sizes, as a whole was different.
4. The level of school administration effectiveness as perceived by administrators, teachers and chairpersons of the Basic Educational Institution Committee, as a whole was at a high level.
5. The school administration effectiveness as perceived by administrators, teachers and chairpersons of the Basic Educational Institution Committee, as a whole was different.
6. The school administration effectiveness as perceived by administrators, teachers and chairpersons of the Basic Educational Institution Committee with different school sizes, as a whole was different.
7.The EQ and the school administration effectiveness as perceived by administrators, teachers and chairpersons of the Basic Educational Institution Committee, as a whole and each aspect had a positive relationship at a statistical significant difference of .01.
8.The variables were able to predict the school administration effectiveness, as perceived by school administrators, teachers, and chairpersons of the Basic Educational Institution Committee, at a statistical significant difference of .01. The variable that had best predictive power involved social skills aspect withthe predictive power of 74.10 percent and the standard error of prediction for ± .24156.
9. The guidelines on EQ developmentfor school administratorsunder the Office of SakonNakhonPrimary Educational Service Area 3 involved three aspects: social skills, emotional self-awareness and empathy.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 48.06 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 339.70 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 43.56 KB |
4 | บทคัดย่อ | 90.16 KB |
5 | สารบัญ | 95.63 KB |
6 | บทที่ 1 | 185.83 KB |
7 | บทที่ 2 | 334.35 KB |
8 | บทที่ 3 | 132.39 KB |
9 | บทที่ 4 | 535.08 KB |
10 | บทที่ 5 | 156.57 KB |
11 | บรรณานุกรม | 100.09 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 81.20 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 336.83 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 173.59 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 153.76 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 66.69 KB |