ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
Work Motivation of Teachers Affecting School Effectiveness under the Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization
ผู้จัดทำ
อษรารักษ์ อุ่นวิเศษ รหัส 58421229226 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ, ดร.ละม้าย กิตติพร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู2)ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน3) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีเพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน 4)เปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีเพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน5) หาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียน6) หาอำนาจพยากรณ์ของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนและ 7) หาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร  และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2559 จำนวน  116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ t-test, F-test  (One way ANOVA)  ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน  (Pearson’sProduct-Moment Correlation)การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Step-wise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 

3. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีเพศที่แตกต่างกันที่มีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีสถานภาพ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีเพศสถานภาพ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ที่มีต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ไม่แตกต่างกันส่วนความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่แตกต่างกัน ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวก (0.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ระดับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านความสำเร็จของงานที่ปฏิบัติ ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านความเจริญก้าวหน้า และด้านเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทน  

7. แนวทางพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ใน 4 ด้าน คือ ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทน ด้านความเจริญก้าวหน้า ด้านนโยบายและการบริหารงาน และด้านความสำเร็จของงานที่ปฏิบัติ

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine a level ofwork motivation of teachers i, 2) to explore a level of school effectiveness in schools, 3)to compare work motivation of teachers as perceived by administrators and teachers, classified by gender, status, education level, work experience and school sizes, 4) to compare a level of school effectiveness as perceived by administrators and teachers, classified by gender, status, education level, work experience and school sizes, 5) to find out the relationship between work motivation of teachers and school effectiveness, 6) to find out the predictive power of teachers’ work motivation affecting school effectiveness, and  7) to establishthe guidelines for developing work motivation affecting effectiveness of schools under the SakonNakhon Provincial Administrative Organization. The sampleswere 116administrators and teachers in schools under the SakonNakhon Provincial Administrative Organizationin the 2016 academic year. The instrument wasa rating scale questionnaire. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent Samples),F-test (One –Way ANOVA), Pearson Product-Moment Correlation, and Step-wise Multiple Regression Analysis.

The results of the research were as follows: 

1. The opinions of administrators and teachers toward work motivation of teachers in schools under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a wholewererated at a high level in all aspects.

2. The opinions of administrators and teachers toward school effectiveness, as a whole were rated at a high level in all aspects.

3. The opinions of administrators and teachers with different gender

toward work motivation of teachers in schools under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, were not different, whereas the opinions of administrators and teachers with different status, education level, work experience, and school sizes toward work motivation of teachers were at a statistically different significance of .01 level. 

4. The opinions of administrators and teachers with different status, education level, and work experience toward school effectiveness were not different, whereas the opinions of administrators and teachers with different school sizes toward school effectiveness were different in a statistical significance of the .05 level. 

5. Work motivation of teachers and effectiveness in schools under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a whole had a positive relationship (0.77)with statistical significance at .01level. 

6. The variables, as a whole could predict the level of school effectiveness with the statistical significant level of .01.The variables involved task achievement, policy and administration, career advancement, and salaries and fringe benefits.

7. The guidelines for developing job motivation affecting the school effectiveness under Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization in terms of salaries and fringe benefits, career advancement, policy and administration, and task achievement.

คำสำคัญ
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานประสิทธิผลของโรงเรียน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 47.41 KB
2 ประกาศคุณูปการ 42.19 KB
3 บทคัดย่อ 96.17 KB
4 สารบัญ 98.53 KB
5 บทที่ 1 166.51 KB
6 บทที่ 2 381.34 KB
7 บทที่ 3 206.17 KB
8 บทที่ 4 567.73 KB
9 บทที่ 5 313.43 KB
10 บรรณานุกรม 149.13 KB
11 ภาคผนวก ก 77.81 KB
12 ภาคผนวก ข 21,445.85 KB
13 ภาคผนวก ค 187.28 KB
14 ภาคผนวก ง 88.11 KB
15 ภาคผนวก จ 92.03 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 66.95 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 ธันวาคม 2560 - 15:45:25
View 1455 ครั้ง


^