ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Good Schools in the Sub- District under the Office of Primary Educational Service Area in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
วิภาสิณี หัศกรรจ์ รหัส 59421229133 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร.ระภีพรรณ ร้อยพิลา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2560 จำนวน 323คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 53คน ครูผู้สอน จำนวน 217คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าร้อยละ การทดสอบค่า t (t-test) แบบ Independent Samplesการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One way ANOVA)การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson’s Product Moment Coefficient และการวิเคราะห์สมการพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก           

2. ประสิทธิผลของโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก      

3. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งประสบการณ์ในการปฏิบัติงานขนาดโรงเรียนที่ปฏิบัติงานต่างกันพบว่า

3.1 ผู้ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารโดยรวมมีความแตกต่างกัน

3.2 ผู้ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารโดยรวมไม่แตกต่างกัน

3.3 ผู้ที่ปฏิบัติงานขนาดโรงเรียนที่ต่างกันโดยรวมมีความแตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งประสบการณ์ในการปฏิบัติงานขนาดโรงเรียนที่ปฏิบัติงานต่างกันพบว่า

4.1 ผู้ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบล โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่มีความแตกต่างกัน

4.2 ผู้ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบล โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่มีความแตกต่างกัน

4.3 ที่ปฏิบัติงานขนาดโรงเรียนที่ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบลโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน

5. ปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01       

6. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครจำนวน 4 ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนดีประจำตำบลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 58.00 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±0.30655

7. การวิจัยครั้งนี้ที่ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหาร ด้านสิ่งแวดล้อมด้านการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านการมีส่วนร่วมไว้ด้วย

Abstract

The purpose of this research were to investigate, compare, find out the relationship, predicting power and means for promoting Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Good Schools in the Sub-District under the Office of Primary Educational Service Area in Sakon Nakhon Province. The samples consisted of 53 administrators  217 teachers and 53chairman of basic education school committee the Office of Primary Educational Service Area in Sakon Nakhon Province in academic year 2017. The instrument was a set of 5-level rating scale questionnaires developed by the researcher. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent samples), F-test (One way ANOVA), Pearson’s product moment coefficient and stepwise multiple regression analysis.

The finding were as follows:

1. The administrative factors of Good Schools in the Sub-District according to administrators, teachers and chairman of basic education school committee opinions was at the high level as a whole.

2. The effectiveness of good schools in the sub-district according to administrators, teachers and chairman of basic education school committee opinions were at the high level as a whole.

3. The administrative factors affect effectiveness to good schools in the sub-district according to administrators, teachers and chairman of basic education school committee opinions classified by job position work experience and school size revealed that:

3.1 The opinion of the participants with different job position toward administrative factors were different.

3.2 The opinion of the participants with work experience toward administrative factor showed no different.

3.3 The opinion of the participants with school size toward administrative factors were different.

4. The effectiveness of good schools in the sub-district classified job position work experience and school size revealed that:

4.1 The opinion of the participants with different job position toward the effectiveness of job position showed no difference.

4.2 The opinion of the participants with different work experience toward the effectiveness of work experience showed no difference.

4.3 The opinion of the participants with school size toward the effectiveness of school size were difference.

5. The administrational factors showed the positive relationship with transformational leadership of school administrators at the .01 level of significance.

6. The compound of 4 variables from the administrational factors could predict the effectiveness of good schools in the sub-district 3 of all at the .01 level of significance and one at the .05 level of significance with the predicting power of 58 percent and standard error of

± 0.30655

7. The proposed guildelines for developing the administrative factors involves such environment, communication and participation

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลโรงเรียน, โรงเรียนดีประจำตำบล
Keywords
Administrative Factors, Effectiveness of School, Good School in the Sub-District
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 143.96 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 348.81 KB
3 ประกาศคุณูปการ 66.53 KB
4 บทคัดย่อ 183.27 KB
5 สารบัญ 163.07 KB
6 บทที่ 1 189.28 KB
7 บทที่ 2 757.47 KB
8 บทที่ 3 316.42 KB
9 บทที่ 4 814.54 KB
10 บทที่ 5 356.93 KB
11 บรรณานุกรม 275.15 KB
12 ภาคผนวก ก 1,822.31 KB
13 ภาคผนวก ข 279.14 KB
14 ภาคผนวก ค 174.50 KB
15 ภาคผนวก ง 194.69 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 159.73 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 เมษายน 2562 - 10:04:53
View 1055 ครั้ง


^