ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทรรศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Desirable Characteristics of School Administrators as Perceived by Teachers in French Primary Schools, Savannakhet Province, the Lao People’s Democratic Republic
ผู้จัดทำ
แสงพอนไซ สีวิไซ รหัส 59421229214 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทรรศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทรรศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน และหาแนวทางยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปีการศึกษา ค.ศ. 2017 จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.931 และแบบสัมภาษณ์แนวทางยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทรรศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามทรรศนะของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามเพศ โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. แนวทางยกระดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนประถมสมบูรณ์ แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เสนอแนะไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านมีความสามารถ และด้านมีแบบแผนในการปฏิบัติงาน มีแนวทางดังนี้

3.1 ด้านมีความสามารถ มีแนวทางดังนี้ ผู้บริหารควรเข้ารับอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มความรู้และความสามารถ ในการบริหารงานในโรงเรียน ควรมีการไปศึกษาดูงานหน่วยงานที่ปฏิบัติเป็นเลิศ ในด้านการบริหารงานในโรงเรียน และควรได้รับการประเมิน ทาบทาม ประเมินการบริหาร ประเมินการสอนว่าเป็นไปตาม 5 หลักทฤษฎี 3 ลักษณะของการศึกษา และ 3 ข้อแข่งขัน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 ด้านมีแบบแผนในการปฏิบัติงาน มีแนวทางดังนี้ ผู้บริหารควรมีการวางแผนในการทำงาน โดยการนำใช้วงจรเดมมิง PDCA มาวางแผนการปฏิบัติงาน ควรมีการจัดประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติงาน มีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน และควรเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการวางแผน และเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

Abstract

 The purposes of this research were to examine the desirable characteristics of school administrators as perceived by teachers in French primary schools, Savannakhet Province, the Lao People’s Democratic Republic (Lao PDR); to compare desirable characteristics of school administrators as perceived by teachers classified by gender, work experience and school sizes; and to establish the guidelines for developing desirable characteristics of school administrators. The samples were 365teachers in French primary schools in Savannakhet Province, Lao PDR in the academic year2017. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning desirable characteristics of school administrators. The statistics used foe data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples) and F – test (One – Way ANOVA).

The findings were as follows:

1. The desirable characteristics of school administrators as perceived by teachers in French primary schools in Savannakhet Province, Lao PDR, as a whole and each aspect were at a high level.

2. The desirable characteristics of school administrators as perceived by teachers with different work experience and school sizes as a whole were different at a statistical significance of the .01 level. On the other hand, the results indicated that teachers with different gender did not differ in their opinions toward the desirable characteristics of school administrators in overall.

3. The guidelines for developing the desirable characteristics of school administrators in French primary schools in Savannakhet Province, the Lao PDR involved two aspects: Competence and Performance planning.

3.1 Competence aspect involved attending the training workshops to improve knowledge and competencies in regard to school administration, visiting best practices for school administration, and entering the recruitment and selection procedures with the following steps: Offer of employment, School administrative evaluation, and Instructional performance evaluation. The recruitment and selection process must be guided in accordance with the five principles, three types of education programs, and three qualification requirements.

3.2 Performance planning aspect involved creating work plans based on Deming Cycle or PDCA Cycle, setting up the meetings for clarifying performance expectations, and carrying out the performance supervision, follow-up and evaluation process. In addition, the administrators should possess broad vision, good interpersonal skills, and provide opportunities for teachers to participate in work plans.

คำสำคัญ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์, ผู้บริหารโรงเรียน
Keywords
Desirable Characteristics, School Administrators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 139.13 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 388.36 KB
3 ประกาศคุณูปการ 114.91 KB
4 บทคัดย่อ 162.66 KB
5 สารบัญ 188.95 KB
6 บทที่ 1 302.50 KB
7 บทที่ 2 697.98 KB
8 บทที่ 3 650.38 KB
9 บทที่ 4 753.31 KB
10 บทที่ 5 429.52 KB
11 บรรณานุกรม 201.78 KB
12 ภาคผนวก ก 195.90 KB
13 ภาคผนวก ข 3,139.98 KB
14 ภาคผนวก ค 516.59 KB
15 ภาคผนวก ง 234.12 KB
16 ภาคผนวก จ 163.34 KB
17 ภาคผนวก ฉ 252.78 KB
18 ภาคผนวก ช 200.87 KB
19 ภาคผนวก ซ 717.20 KB
20 ประวัติย่อของผู้วิจัย 151.15 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 มีนาคม 2562 - 12:46:50
View 604 ครั้ง


^