สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ปัจจัยการบริหารวิชาการและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่ง อายุราชการ และขนาดโรงเรียนต่างกันหาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยการบริหารวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครูและหาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยการบริหารวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 329 คน แบ่งออกเป็น ผู้บริหาร จำนวน 97 คน และครูผู้สอน จำนวน 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารวิชาการของข้าราชการครู และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครู มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.74 ถึง 0.92 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ปัจจัยการบริหารวิชาการและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 โดยรวม อยู่ในระดับมาก
2.ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการบริหารวิชาการของข้าราชการครูที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครู โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ส่วนข้าราชการครูที่มีอายุราชการต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยการบริหารวิชาการและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ โดยรวม ไม่แตกต่างกันส่วนข้าราชการครูที่ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยการบริหารวิชาการและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.ปัจจัยการบริหารวิชาการกับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศีกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.ปัจจัยการบริหารวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23ที่นำมาวิเคราะห์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรบุคคล ครู และบุคลากรทางการศึกษาทางวิชาการ โครงสร้างการบริหารวิชาการ การจัดการทรัพยากรทางการศึกษาและงบประมาณ และการอำนวยการ สามารถพยากรณ์ ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5.แนวทางในการพัฒนาปัจจัยการบริหารวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 4 ด้าน ดังนี้ ด้านทรัพยากรบุคคล ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ การส่งเสริมให้ครูเข้ารับการฝึกอบรม ด้านโครงสร้างการบริหารวิชาการ ได้แก่ การจัดระบบงานให้มีความชัดเจนและทันสมัยด้านการจัดการทรัพยากรทางการศึกษา และ งบประมาณ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนลงไปสู่กิจกรรมของผู้เรียนโดยตรงและด้านการอำนวยการ ได้แก่ การบริหารเปิดโอกาสให้ครูมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
The purposes of this research were to compare and find out the relationship between academic administrative factors and effectiveness of instructional management of civil service teachersunder theOffice of Secondary Educational Service Area 23,classified by position, working period and school sizes; to examine the predictive power of academic administrative factors affecting the effectiveness of instructional management of civil service teachers;andto establish the guidelines for developing academic administrative factors to improve the effectiveness of instructional management of civil service teachers. The samples consisted of97 administrators and 232 teachers, yielding a total of 329 participants, working in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23 in the 2018 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnairesconcerning academic administrative factors and the effectiveness of instructional management of civil service teachers with the discrimination level ranging between 0.74 to 0.92 with the reliability of 0.92. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples),F – test (One – way ANOVA), Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1.Academic administrative factors and the effectiveness of instructional management as perceived bycivil service teachers,as a whole wereat a high level.
2.The results from a comparison of academic administrative factors of civil service teachers with different position attained weredifferent at the .01 statistical significance level, whereas theeffectiveness of instructional management, as a whole was different at the .05 statistical significance level. The academic administrative factors and the effectiveness of instructional managementas perceived by civil service teacherswith different working periods,as a whole were not different. The academic administrative factors and the effectiveness of instructional management as perceived by civil service teachersworking from different school sizes, as a whole were different at the .01 statistical significance level.
3. Academic administrative factors and the effectiveness of instructional management of civil service teachers showed positive relationship at the .01 statistical significance level.
4. The academic administrative factors affecting the effectiveness of instructional management of civil servant teachersinvolved four aspects: PersonnelResources: Teachers and Academic Personnel, Academic Administrative Structure, Educational Resource Management and Finance, and Administration. The said factors as a whole wereable to predict the effectiveness of instructional managementwith the .01 statistical significance level.
5. Theguidelines for developing academic administrative factorsto improve the effectiveness of instructional management of civil service teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 23, were classified into following four aspects: PersonnelResources: Teachers and Academic Personnel: providing professional development support; Academic Administration Structure:involving clearly defined and modern worksystem; Educational Resource Management and Finance : involving budgetallocation to directly support student learning activities; and Administration : providing teachers with opportunities to continuously improve individual practice.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 103.03 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 387.82 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 69.66 KB |
4 | บทคัดย่อ | 124.18 KB |
5 | สารบัญ | 257.71 KB |
6 | บทที่ 1 | 321.47 KB |
7 | บทที่ 2 | 482.86 KB |
8 | บทที่ 3 | 388.05 KB |
9 | บทที่ 4 | 910.94 KB |
10 | บทที่ 5 | 334.41 KB |
11 | บรรณานุกรม | 264.96 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 694.97 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 256.16 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 268.04 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 196.47 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 148.76 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 82.25 KB |