ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของการทำวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร
Administrative Factors Affecting the Success of Classroom Action Research under the Office of the Basic Education Commission in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
จุฑามาศ อิศระภิญโญ รหัส 60421229119 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร.ระภีพรรณ ร้อยพิลา
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของการทำวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร จำนวน 370 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน88 คน และครู จำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (Oneway ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Coefficient) และการวิเคราะห์สมการพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการบริหารตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ผลสำเร็จของการทำวิจัยในชั้นเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู  โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยการบริหารตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน ไม่มีความแตกต่างกัน และจำแนกตามลักษณะการเปิดสอน  โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ผลสำเร็จของการทำวิจัยในชั้นเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู  จำแนกตามสถานภาพและจำแนกตามลักษณะการเปิดสอน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน ไม่มีความแตกต่างกัน 

5. ปัจจัยการบริหารมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กับผลสำเร็จของการทำวิจัยในชั้นเรียน   

6. ปัจจัยการบริหาร จำนวน 3 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของการทำวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร ได้แก่  การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร สามารถพยากรณ์ผลสำเร็จของการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 55.60 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.39822  

7. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของการทำวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร ที่ควรได้รับการพัฒนา  จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน นโยบายการบริหารที่นำไปสู่การปฏิบัติ บุคลากรและการพัฒนาบุคลากร โดยผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาไว้ด้วย

Abstract

The purposes of this research were to: investigate, compare, determine the Relationship, predictive power and establish the guidelines for developing administrative factors affecting the success of classroom action research under the Office of the Basic Education Commission in Sakon Nakhon Province. The samples consisted of 88 administrators and 282 teachers, yielding a total of 370 participants from schools under the Office of the Basic Education Commission in Sakon Nakhon Province. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires with the reliability of 0.980. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), F-Test (One way ANOVA), Pearson’s Product Moment Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The administrative factors, as perceived by administrators and teachers under the Office of the Basic Education Commission in Sakon Nakhon Province, were at a high level in overall.

2. The success of classroom action research as perceived by administrators and teachers was at a high level in overall.

3. The administrative factors as perceived by administrators and teachers with different status showed a statistically significant difference at the .01 level in overall and each aspect. Regarding work experience, the administrative factors were not different. In overall, there were significant differences of administrative factors as perceived by participants from different types of school program provision at a statistical significance of .01 level.

4. The success of classroom action research based on administrators’ and teachers’ opinions, classified by status and types of school program provision, was significantly different at the .01 level in overall and each aspect. Regarding work experience, the result showed no differences in overall and each aspect.

5. The administrative factors showed a positive relationship with the success of classroom action research at a high level with a statistical significance at .01 level.

6. The three administrative factors affecting the success of classroom action research involved classroom action research support, implementing policies into practice, personnel and personnel development. It was also found that the said factors were able to predict the success of classroom action research at a statistical significance of .01 level with the predictive power of 55.60 percent. The standard error of estimate score was ± 0.39822.

7. The administrative factors affecting the success of classroom action research under the Office of the Basic Education Commission in Sakon Nakhon Province were proposed and identified the three factors needing improvement in terms of classroom action research support, implementing policies into practice, personnel and personnel development. The researcher has also proposed the development approach in this research.

คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร, การวิจัยในชั้นเรียน
Keywords
Administrative Factors, Classroom Action Research
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 96.03 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 496.99 KB
3 ประกาศคุณูปการ 85.01 KB
4 บทคัดย่อ 141.02 KB
5 สารบัญ 181.84 KB
6 บทที่ 1 301.77 KB
7 บทที่ 2 1,098.45 KB
8 บทที่ 3 732.13 KB
9 บทที่ 4 942.40 KB
10 บทที่ 5 632.25 KB
11 บรรณานุกรม 307.07 KB
12 ภาคผนวก ก 140.13 KB
13 ภาคผนวก ข 15,487.95 KB
14 ภาคผนวก ค 302.02 KB
15 ภาคผนวก ง 380.92 KB
16 ภาคผนวก จ 134.57 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 107.76 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 สิงหาคม 2562 - 10:30:22
View 1003 ครั้ง


^