ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐานวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
The Teacher Development in Competency-Based Learning Management using Project Based Learning in PhanaNikhom Industrial and Community Education College under the Office of the Vocational Education Commission
ผู้จัดทำ
ยศวัฒน์ คำภู รหัส 60421229142 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ดร.ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน2) พัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ตามทางเลือกและแผนปฏิบัติการร่วมกัน 3) ติดตามผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐานในวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากลุ่มเป้าหมายการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย ผู้อำนวย รองผู้อำนวยการ ครู และนักเรียนวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม จำแนกเป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 21 คนกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 72 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยมีรูปแบบกระบวนการดำเนินงานวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมการวิจัย ระยะที่ 2 การปฏิบัติการวิจัยและระยะที่ 3 การสรุปผลการพัฒนา เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามแบบประเมินตนเองแบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการนิเทศการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบัน และปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐานของครูในวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

1.1 สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐานของครูในวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม พบว่า ครูจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการไม่หลากหลาย ไม่เน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ที่เป็นการท่องจำและจดบันทึกโดยเน้นการเรียนตามเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูเตรียมไว้ และในส่วนของวิทยาลัยขาดการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

1.2 ปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐานของครูในวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ครูขาดทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ บูรณาการความรู้ และจัดการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียน

2.การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน วิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามทางเลือกและแผนปฏิบัติการร่วมกัน ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางในการพัฒนาประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ2) การนิเทศติดตาม และในวงรอบที่2 ใช้แนวทางการพัฒนาการคือการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ

3. ผลการติดตามการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐานวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด การนิเทศติดตามทำให้ครูสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุดและการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุดในวงรอบที่ 2 ใช้วิธีการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน อยู่ในระดับ มากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine current conditions and problems of competency-based learning management using project based learning, 2) to develop teachers inmanaging competency – based learning using project based learning in accordance with mutual alternatives and planning, and 3) to follow up teacherdevelopment of competency-based learning management using project based learningin PhanaNikhomIndustrial and Community Education College (PN-ICEC) under the Office of the Vocational Education Commission (OVEC).The target group consisted of school directors, deputy directors, teachers and students ofPN-ICEC under the OVEC, classified as21 co-researchersand 72 key informants.The research employed participatory action research involving three phases: Phase I- Research Preparation, Phase II- Research Implementation, and Phase III -Summary of Development. The research instruments comprised aself-assessment form, abehavior observation form, an interview form, and asupervision form. Qualitative data analysis was accomplished through content analysis. The statistics for quantitative data analysisincludedmean, percentage and standard deviation.

The findings of this research were:

1.The current conditions and problems in managing competency – based learning using projectbased learning of teachersrevealed that:

1.1 The study of current conditions underscored thatteachers did not employ a variety of teaching techniques, such as learner centered approaches and analytical thinking skills. The teaching approach tended to be memorization and note – taking as planned in teaching lesson plans.  The college supervisory processes were unsystematic and discontinued.

1.2 The problems found that teachers lacked knowledge and understanding in managing the competency-based learning through the use of project based learning. In addition, teachers lacked skills in learning management in terms of analytical, synthesis and creative thinking skills. Integrated knowledge and learning management were created by not in accordance with the students’ interests and abilities.

2. Teacher development in accordance with the mutual alternatives and planning: The first spiral was implemented with the development guidelines containing 1) a workshop, and 2) a follow-up supervision, followed by the second spiral containing coaching supervision.

3. The effects after the teacher development revealed that after the workshop, teachers gained knowledge and understanding in competency – based learning management using projectbased learning at the highest level. After the follow-up supervision, teachers were able to write lesson plans based on competency – based learning management using the projectbased learning at the highest level.Teacher development influencing the changes of the students’ behaviors was at the highest level. The employment of the coaching supervision in the second spiral found that teachers gained knowledge, understanding and skills in managing the competency-based learning using project based learning at the highest level.

คำสำคัญ
การพัฒนาครู, การจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
Keywords
Teacher Development, Competency-Based Learning Management, Project-Based Learning
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 173.40 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 373.55 KB
3 ประกาศคุณูปการ 69.44 KB
4 บทคัดย่อ 199.37 KB
5 สารบัญ 148.90 KB
6 บทที่ 1 301.08 KB
7 บทที่ 2 1,239.63 KB
8 บทที่ 3 239.79 KB
9 บทที่ 4 979.04 KB
10 บทที่ 5 280.36 KB
11 บรรณานุกรม 265.30 KB
12 ภาคผนวก ก 505.34 KB
13 ภาคผนวก ข 504.53 KB
14 ภาคผนวก ค 166.09 KB
15 ภาคผนวก ง 754.48 KB
16 ภาคผนวก จ 723.68 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 174.28 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
17 เมษายน 2563 - 23:26:55
View 3583 ครั้ง


^