ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
Development of the Child Caretakers in Managing the Preschool Education at the Child Development Centers under Na Mon-Sub-district Administration Organization, Na Mon District, Kalasin
ผู้จัดทำ
รพีพร บุตรศาสตร์ รหัส 543B46105 ระดับ ป.โท ภาคปกติ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.วีรเทพ เนียมหัตถี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1)ศึกษาสภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์  2)หาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย 3) ติดตามผลการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย  ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน  9  คน   โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  2 วงรอบ  แต่ละวงรอบประกอบด้วยขั้นการวางแผน  ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ ขั้นการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1.1 สภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลนามนทุกแห่งยังขาดปัจจัยที่มาสนับสนุนให้การจัดการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ ดังเช่น สื่อการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมกับวัยของเด็กปฐมวัย   แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   ครูผู้ดูแลเด็กยังไม่มีทักษะในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้และการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้เท่าที่ควร ครูผู้ดูแลเด็กยังใช้แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในศูนย์และในท้องถิ่นมาช่วยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กอยู่ในระดับน้อย  สื่อการเรียนรู้ที่มีอยู่มีสภาพเก่า  ชำรุดและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอและยังพบว่าครูผู้แลเด็กจัดประสบการณ์ให้เด็กโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดกิจกรรมประจำวันอย่างเหมาะสม จัดประสบการณ์การเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กโดยเน้นกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นอยู่ในระดับปานกลาง

1.2  ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า  ครูผู้ดูแลเด็กขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างถูกต้อง ขาดทักษะในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ไม่มีความรู้ความเข้าใจและขาดทักษะในการผลิตสื่อการเรียนรู้และจัดทำสื่อ/นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยและที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กตามวัย   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดซื้อ จัดหา และผลิตสื่อนวัตกรรม ตลอดจนไม่มีงบประมาณที่จะส่งครูผู้ดูแลเด็กทุกคนไปฝึกประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยทั้งหมด ครูผู้ดูแลเด็กจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อและเหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

2. แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลนามน  อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ มี  2 แนวทางคือ 1)การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศติดตาม และนิเทศภายใน

3. การติดตามผลการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยพบว่า

3.1.การอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่าครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย  การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการพัฒนาบุคลากร  ด้านการตกแต่งอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และการบริหารจัดการความปลอดภัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ในด้านวิชาการ มีทักษะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ การจัดทำสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้ที่สนองต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546

3.2.การนิเทศติดตาม พบว่าการให้ความช่วยเหลือ  แนะนำ  เสนอแนะ การให้คำปรึกษาในการจัดการศึกษาปฐมวัย  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้   การเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้   การผลิตสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้  การจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งผลให้ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดการศึกษาปฐมวัยเพิ่มขึ้น

Abstract

This study aimed to 1) investigate the states and problems in managing  the preschool education at the child development centers under Na Mon Sub-district Administration Organization, 2) find out guidelines on development of the preschool education management, and 3) monitor effects of the preschool educational management development. The population consisted of 9 child caretakers. This study employed a 2-spiral participatory action research comprising planning, action, observation and reflection. Instruments used included a form of observation, a form of interview as well as a form of evaluation. Statistics used were percentage, mean and standard deviation.

The findings of this study were as follows:

1. The states and problems of the management on the preschool education at the child development centers were:

1.1 The states of the preschool education management of the child development centers revealed that every child development center under Na Mon Sub-district Administration Organization faced a lack of factors to support  learning management as well as application of learning in order to be efficient e.g. diverse learning media appropriate to the learners’ age, and lesson plans based on the learner-centered approach as well. The child caretakers lacked skills in applying learning atmosphere as well as environment management both inside and outside classroom conducive to learning. The child caretakers still used learning resources inside the child development centers communities to be applied in managing learning at the low degree. The existed learning media were old and broken. The materials conducive to the children’s learning were in a small amount and inadequate. In addition, the child caretakers provided experiences for the children based on the learner-centered approach along with the appropriate application. The management  of learning and promotion of child development focusing on integrated activities was at the moderate level.

1.2 The problems concerning the management of the preschool education of the child development centers indicated that the child caretakers encountered a lack of knowledge, understanding in appropriately managing the preschool education. They lacked skills in writing the lesson plans, knowledge, understanding and skills in producing learning materials together with the application materials/innovations/ learning resources suitable for the children’s age and development. The   child development centers obtained inadequate budget  for purchasing, providing and producing innovative media and also lacked budget on allowing every  child caretaker  to attend training sessions in training the preschool education. The child caretakers had to manage class atmosphere conducive to child development and learning.

2. The guidelines on the preschool education management at the child development centers were composed of 2 guidelines: 1) a workshop, and 2) monitoring supervision and internal supervision.

3. The monitoring of the effects on the preschool education management found that:

3.1 In case of the workshop, it was found that the child caretakers gained knowledge, understanding and skills in developing the preschool education management, management of child development centers, personnel development, decoration of physical plants and environment both inside and outside  the child development centers conducive to learning management and child development as well. In terms of academic affairs, they  gained skills in applying learning experience  and production of media, innovations on media to meet learning management based on the Curriculum on Preschool Education B.E. 2546 ( AD 2003).

3.2 The monitoring supervision indicated that assistance, suggestions, recommendations, counseling on the preschool education management, learning management, writing of lesson plans, production of learning media and innovations, environment both inside and outside the child development centers conducive to learning affecting the child caretakers to gain better knowledge, understanding and skills in managing the preschool education.

คำสำคัญ
-
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 76.72 KB
2 ประกาศคุณูปการ 62.00 KB
3 บทคัดย่อ 122.94 KB
4 สารบัญ 148.59 KB
5 บทที่ 1 242.56 KB
6 บทที่ 2 1,417.88 KB
7 บทที่ 3 237.87 KB
8 บทที่ 4 853.21 KB
9 บทที่ 5 231.95 KB
10 บรรณานุกรม 165.87 KB
11 ภาคผนวก ก 140.61 KB
12 ภาคผนวก ข 690.47 KB
13 ภาคผนวก ค 276.61 KB
14 ภาคผนวก ง 691.87 KB
15 ประวัติย่อของผู้วิจัย 101.51 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 เมษายน 2562 - 12:01:47
View 555 ครั้ง


^